2 วิธีทดสอบ "ภูมิแพ้" ตรวจอาการแพ้อาหาร และอื่นๆ

2 วิธีทดสอบ "ภูมิแพ้" ตรวจอาการแพ้อาหาร และอื่นๆ

2 วิธีทดสอบ "ภูมิแพ้" ตรวจอาการแพ้อาหาร และอื่นๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนไม่สามารถทนกับอาการแพ้ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกิดอาการภูมิแพ้ที่เกิด เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้กลุ่มนี้ อาการภูมิแพ้เป็นเรื่องน่ารำคาญ ลองนึกภาพว่า คุณต้องพกกระดาษทิชชู่ติดตัวตลอดเวลา เมื่อออกไปข้างนอก เพราะมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล ไอและจามตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านี้ อาการแพ้บางอย่างอาจรุนแรงมากกว่าที่คิด และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ การพบหมอเพื่อเข้ารับ การทดสอบภูมิแพ้ เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคุณสงสัยว่า คุณอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อสารบางอย่าง แพทย์อาจสั่งให้มีการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test) หรือการตรวจเลือด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

การทดสอบอาการแพ้ทางผิวหนังประกอบด้วย การทดสอบ 3 ประเภท ดังนี้

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยการสะกิดผิว

แพทย์จะใช้สารก่อภูมิแพ้ที่เลือกไว้ ทาลงบนผิวหนัง แล้วมีการสะกิดเอาผิวหนังออก เพื่อให้สารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย วิธีนี้เป็นการตรวจที่รวดเร็ว  ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากพบว่าผิวหนังเกิดผื่นแดง และมีอาการคัน หมายความว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีอาการแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น

การทดสอบภูมิแพ้โดยการฉีดเข้าผิวหนัง

ในการทดสอบประเภทนี้ สารก่อภูมิแพ้จะถูกฉีดเข้าผิวหนัง การทดสอบประเภทนี้ เป็นการทดสอบที่ละเอียดอ่อนกว่า การทดสอบโดยการสะกิดผิว แต่เหมาะกับผู้ที่ไม่เกิดอาการแพ้ ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เลือกฉีดเข้าไป

การทดสอบภูมิแพ้ด้วยแผ่นปิดผิว

การทดสอบประเภทนี้ มักใช้สำหรับอาการภูมิแพ้สัมผัสที่บริเวณผิวหนัง โดยบริเวณที่ถูกทดสอบจะได้รับการตรวจ 2-3 วันหลังจากมีการใช้แผ่นปิดผิว หรือประมาณ 24 – 72 ชั่วโมง อาการที่แสดงว่าแพ้ คือผิวบริเวณนั้นจะแดงหรือมีตุ่มขึ้น

 

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาอาการแพ้ ใช้ตรวจหาสารที่อยู่ในเลือด ที่เรียกว่าแอนติบอดี้ การตรวจเลือดที่ทำบ่อยที่สุดคือ การตรวจเลือดเพื่อหาอิมมูโนโกลบูลินที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ (RAST) การทดสอบประเภทนี้จะทำการเจาะเลือด เพื่อเอาตัวอย่างเลือดไปตรวจ เพื่อหาอิมมูโนโกลบูลินที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาอาการแพ้ในห้องแล็บ

การตรวจเลือดนั้นไม่แสดงถึงความไวของปฏิกิริยา เท่ากับการตรวจแบบผิวหนัง แต่มีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการทดสอบทางผิวหนังได้ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่เกิดผื่นคัน หรืออาการทางผิวหนังอื่นๆ ที่ไม่สามารถตรวจหาได้จากการทดสอบทางผิวหนัง

  • ผู้ที่ไม่สามารถหยุดยาได้

  • ผู้ที่เคยมีปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis)

  • ผู้ที่เข้ารับการตรวจทางผิวหนัง และพบว่ามีอาการแพ้อาหารหลายประเภท

 

การตรวจแบบอื่นๆ

การตรวจอาการแพ้ทางปาก เป็นวิธีที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยอาการแพ้อาหาร แพทย์จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารที่คุณคิดว่าเป็นต้นเหตุของอาการแพ้ทีละน้อย ผู้ตรวจจะทำการสังเกตปฏิกิริยาของคุณที่มีต่ออาหารชนิดนั้น

เมื่อทราบผลว่าคุณมีอาการแพ้ต่อสารบางอย่าง คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาเพื่อลดอาการแพ้โดยเร็ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook