รับมือกับ "บาดทะยัก" โรคอันตรายที่คุณอาจยังรู้จักไม่ดีพอ
ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนี้ ดูเหมือนว่าคนที่เป็นบาดทะยัก จะไม่รู้วิธี การรับมือกับบาดทะยัก เอาเสียเลย บทความนี้จะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้เอง
บาดทะยักคืออะไร
บาดทะยัก (Tetanus) คือการติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียมทีตานี (Clostridium tetani) เมื่อเชื้อนี้ได้แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย แบคทีเรียนี้จะสร้างสารพิษที่รุนแรงเรียกว่า เตตาโนสะปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะไปทำลายเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ ที่เรียกว่าเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons)
อาการ
กว่าสัญญาณและอาการถึงจะแสดงออกมา ก็หลังจากผ่านไประยะหนึ่ง ตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงหลายสัปดาห์ หลังจากที่เชื้อแบคทีเรียบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่ลึก ระยะฟักตัวของการติดเชื้อโดยเฉลี่ยคือ 7 ถึง 10 วัน
สัญญาณและอาการที่พบได้มากของบาดทะยักก็คือ อาการชักกระตุกและแข็งเกร็งที่หลายบริเวณในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นบาดทะยักยังสามารถทำให้เป็นไข้ เหงื่อออก ความดันโลหิตเพิ่มสูง และเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ
ควรไปพบหมอเมื่อไหร่
ไปหาแพทย์เพื่อทำการฉีดกระตุ้นบาดทะยักทันที หากคุณมีบาดแผลที่ลึกหรือสกปรก หากคุณยังไม่ได้ฉีดกระตุ้นภายใน 5 ปี ถ้าคุณจำไม่ได้หรือไม่แน่ใจว่า คุณเคยฉีดกระตุ้นบาดทะยักไปแล้วหรือยัง ควรฉีดใหม่อีกครั้งในทันที
สาเหตุ
เชื้อคลอสตริเดียมทีตานี หรือที่รู้จักกันว่าสปอร์ของแบคทีเรีย คือสาเหตุของบาดทะยัก สามารถพบได้ในฝุ่นละออง ดิน และอุจจาระของสัตว์ หากคุณบาดเจ็บ และมีบาดแผลลึก เชื้อบาดทะยักจะสร้างพิษเตตาโนสะปาสมินและทำลานซลล์ประสาทสั่งการ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อของคุณจะเริ่มรู้สึกแข็ง และชักกระตุก ซึ่งเป็นสัญญาณที่สำคัญของบาดทะยัก
คนส่วนใหญ่ที่เป็นบาดทะยัก คือคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่ได้ตามรับการฉีดกระตุ้นในรอบ 10 ปี
บาดทะยักไม่ใช่โรคระบาด หมายความว่าคุณจะไม่ติดโรคนี้จากคนที่เป็นโรคอยู่
อาการแทรกซ้อน
หลังจากที่พิษที่บาดทะยักสร้างขึ้นมา ได้ไปผูกติดกับปลายประสาท ก็เท่ากับไม่มีทางที่จะกำจัดมันออกไปได้ การที่จะฟื้นฟูจากบาดทะยักได้เต็มที่ คุณจำเป็นต้องมีปลายประสาทเกิดขึ้นมามากกว่านี้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาสักประมาณหนึ่ง
อาการแทรกซ้อนที่มาจากบาดทะยักมีดังนี้
- กระดูกหัก ยิ่งคุณมีอาการชักกระตุกรุนแรงมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดอาการกระดูกสันหลัง หรือกระดูกส่วนอื่นๆ หักได้มากขึ้นเท่านั้น
- การอุดตันของหลอดเลือดแดงในปอด หรือที่รู้จักกันว่าโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) หลอดเลือดแดงหลักของปอดนั้นสามารถถูกอุดตันได้ จากลิ่มเลือดที่มาจากบริเวณอื่นในร่างกาย
- การเหนี่ยวนำบาดทะยักขั้นรุนแรง หรือกล้ามเนื้อหดรัดตัวไม่คลาย (tetanic) อาการกล้ามเนื้อกระตุกสามารถทำให้หายใจได้ลำบากยิ่งขึ้น และเท่าที่เรารู้การขาดออกซิเจนนั้นเป็นสาเหตุการตายที่พบได้บ่อย ด้วยการทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกจากนี้ยังสามารถเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม (pneumonia) ได้อีกด้วย
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ