วิธีช่วยเหลือคน “สำลักอาหาร” ที่ถูกต้อง ทั้งกับตัวเอง ผู้ใหญ่ และเด็ก

วิธีช่วยเหลือคน “สำลักอาหาร” ที่ถูกต้อง ทั้งกับตัวเอง ผู้ใหญ่ และเด็ก

วิธีช่วยเหลือคน “สำลักอาหาร” ที่ถูกต้อง ทั้งกับตัวเอง ผู้ใหญ่ และเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บทคนจะโชคร้าย มันก็โชคร้ายขึ้นมาเสียอย่างนั้น โดยไม่มีลางบอกเหตุใดๆ ทั้งสิ้น ในชีวิตเราโอกาสที่จะเกิดเหตุ “สำลักอาหาร” จนอาหารติดคอ หายใจไม่ออกจนเสียชีวิตน่าจะน้อยมากๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย เพราะหากเกิดขึ้นมาจริงๆ แล้วเราช่วยไม่ทัน หรือช่วยอย่างไม่ถูกวิธี เราอาจจะต้องสูญเสียคนที่คุณรักไปตลอดกาลอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว

 

วิธีช่วยเหลือคน “สำลักอาหาร” ที่ถูกต้อง

ตัวเอง สำลักอาหาร

  1. รวบรวมสติ พยายามหาน้ำมาดื่ม หากไม่มีให้พยายามยืดคอตรงๆ เพื่อเปิดหลอดอาหารให้กว้างขึ้น แล้วไอออกมาแรงๆ ให้อาหารกระเด็นออกมาจากคอให้ได้

  2. กางนิ้วก้อยและนิ้วโป้งออกมาให้มืออยู่ในรูปร่างลักษณะคล้าย “เขาควาย” จากนั้นวางปลายนิ้วก้อยไว้บริเวณสะดือ ปลายนิ้วโป้งอยู่ใต้ลิ้นปี่ จากนั้นหดนิ้วทั้งสองลงในท่ากำมือธรรมดาๆ แล้วหันด้านเล็บของนิ้วโป้งเข้าหาตัว เอามืออีกข้างหนึ่งมากุมมือทับมือที่กำเอาไว้ แล้วค่อยๆ เริ่มกดกระทุ้งบริเวณท้องตรงนั้นพร้อมโค้งหลังลงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายสำลักเอาอาหารออกมา

 

ช่วยคนอื่น สำลักอาหาร

  1. ให้ผู้ที่มีอาการสำลักอาหารยืนขึ้น เราเข้าไปทางด้านหลัง

  2. สอดเท้าวางอยู่ตรงกลางด้านหลังระหว่างเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วย เท้าอีกข้างหนึ่งวางตามหลังคอยส่งแรงตาม

  3. หาตำแหน่งวางมือเหมือนเดิม กำมือชูเฉพาะนิ้วก้อยและนิ้วโป้ง ปลายนิ้วก้อยวางไว้บริเวณสะดือ ปลายนิ้วโป้งวางอยู่ใต้ราวนม หรือใต้ลิ้นปี่ หดนิ้วเข้า หันด้านหน้าเล็บของนิ้วโป้งเข้าหาตัว เอามืออีกข้างมากุม แล้วส่งแรงกดกระทุ้ง ดึง และดันลำตัวขึ้น

 

เด็กเล็ก สำลักอาหาร

  1. สังเกตเห็นว่าเด็กอ้าปากร้อง แต่ไม่มีเสียงออกมา แสดงว่ามีบางสิ่งบางอย่างอุดกั้นทางเดินหายใจอยู่

  2. หากเป็นเด็กเล็กมาก สามารถอุ้มในลักษณะนอนคว่ำ มือหนึ่งประคองคอจากด้านหน้า ใช้มืออีกข้างหนึ่งทุบเบาๆ ตรงกลางระหว่างสะบักหลังทั้งสองข้างประมาณ 5 ครั้ง

  3. หากอาหารยังไม่ออก ให้ประคองเด็กกลับมานอนในท่านอนหงาย โดยค่อยๆ ประคองจากด้านท้ายทอยของเด็กก่อน จากนั้นเอามืออีกข้างชูนิ้วชี้และนิ้วกลาง กดลงไปบริเวณกึ่งกลางระหว่างอกของเด็ก และกดแรงๆ ราว 5 ครั้ง หากอาหารยังไม่ออกให้ทำสลับไปหาเรื่อยๆ

 

สำหรับเด็กอาจจะต้องกำชับ หรือสอนให้เด็กๆ รู้ว่าอะไรที่ไม่ควรทาน ไม่ควรเอาเข้าปาก และควรระมัดระวังไม่ทิ้งสิ่งของเล็กๆ ที่เด็กเอาเข้าปากได้เอาไว้รอบๆ ตัวเด็กโดยที่เราไม่อยู่คอยดูแลใกล้ๆ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้

 

412275

 

>> 9 วิธีช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินที่มักเข้าใจกันผิดๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook