5 อาการอันตรายจาก “ท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วง” ที่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

5 อาการอันตรายจาก “ท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วง” ที่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

5 อาการอันตรายจาก “ท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วง” ที่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อากาศร้อนๆ ในบ้านเราทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษกันได้ง่ายๆ เพราะอาหารมักบูดเน่าเร็วกว่าปกติ ซึ่งนอกจากอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหลายๆ ครั้ง จนเราเรียกว่าท้องร่วงแล้ว เราอาจจะมีอาการอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้นหากมีอาการท้องเสีย ท้องร่วงในครั้งหน้า สังเกตอาการของตัวเองให้ดีว่ามีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วยหรือไม่ หากมีเพียง 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง อาจมีการติดเชื้อที่ต้องได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องจากแพทย์

 

5 อาการอันตรายจาก “ท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วง” ที่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

  1. ถ่ายมากผิดปกติ (อาจจะมากกว่า 8-10 ครั้ง) รวมถึงอาเจียนมาก

  2. มีไข้

  3. ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลียมาก มือเท้าเย็น

  4. ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง

  5. หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้แบบไม่มีน้ำตา

 

อาหารเสี่ยงอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ

  • อาหารสดสุกๆ ดิบๆ ไม่ผ่านความร้อน หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ

  • อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เป็นต้น

  • อาหารหมักดอง อาหารกระป๋องที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม

  • อาหารที่ผลิต หรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน

  • อาหารข้างทางที่มีแมลงวันตอม

  • อาหารที่ปรุงสุกเอาไว้ตั้งแต่เช้า หรือเช้ามือ โดยไม่มีการอุ่นร้อน หรืออุ่นไม่ร้อนพอตลอดทั้งวัน

  • อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม แล้วปรุงทิ้งเอาไว้นานหลายชั่วโมง

  • น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ

  1. สังเกตอาการของตัวเอง หากท้องเสีย ปวดท้อง แต่ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รอดูว่าอาการท้องเสียค่อยๆ หยุดได้เองหรือไม่ หากค่อยๆ หยุดได้เอง ถ่ายน้อยลงเรื่อยๆ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (น้ำตาลเกลือแร่ ORS) เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากการถ่าย ป้องกันอาการขาดน้ำ อาการขาดค่อยๆ ดีขึ้นเองใน 72 ชั่วโมง

  2. งดทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารหมักดอง

  3. พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมากๆ งดการทำกิจกรรมหนักๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านหนักๆ เป็นต้น

 

>> วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการ "ท้องร่วง-ท้องเสีย"

>> อาการท้องเสียแบบไหน? ต้องใช้ “ยาฆ่าเชื้อ”

>> วิธีเลือกทาน “ส้มตำ” อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยง “ท้องเสีย”

>> ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เสี่ยง "ลำไส้อักเสบเรื้อรัง"

>> 10 เมนูสุดเสี่ยงท้องเสีย-ท้องร่วงฉลองต้อนรับปีใหม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook