7 สาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน

7 สาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน

7 สาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหา “กลิ่นปาก” ที่หลายคนอาจไม่ค่อยมีปัญหากับมันมากนัก แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเป็นกังวลกับปัญหานี้ที่แก้อย่างไรก็ไม่หาย ที่น่าสงสารไปกว่านั้นคือ เขาหรือเธอเหล่านั้นบางครั้งไม่รู้ตัวว่ามีปัญหากลิ่นปาก จึงทำให้คนรอบข้างพากันรังเกียจและเอาไปนินทากันมากมาย ส่วนตัวไม่ว่าจะย้ายที่ทำงานกี่ครั้ง ก็มักเจอเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหากลิ่นปากทุกครั้ง ทำให้เราเข้าใจว่า ปัญหากลิ่นปากไม่ใช่เรื่องเล็ก และคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหานี้

เมื่อต้องการจะแก้ปัญหากลิ่นปาก ก็ต้องทราบกันก่อนว่าปัญหากลิ่นปากมีต้นเหตุมาจากไหน จะได้แก้ไขกันได้ตั้งแต่ต้นเหตุ

 

สาเหตุของ “กลิ่นปาก”

  1. อาหารกลิ่นแรง

อาหารกลิ่นแรงๆ มักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม หอม สะตอ หรือแม้กระทั่งอาหารกระป๋องอย่าง ปลากระป๋อง ทูน่ากระป๋อง และเครื่องเทศต่างๆ ทำให้เกิดกลิ่นปากหลังทานได้ทันที หากทานอาหารเหล่านี้ วิธีแก้ปัญหาก็ง่ายๆ เพียงแค่แปรงฟัน บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปาก หรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีกลิ่นมิ้นท์ช่วยลดกลิ่นปาก เท่านี้ก็เรียบร้อย

 

  1. อาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง และน้ำตาล

นี่เริ่มสู่อีกขั้นหนึ่งของอาหารที่ทำให้มีกลิ่นปากแล้ว เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่าอาหารที่เต็มไปด้วยแป้ง และน้ำตาล เป็นอาหารที่สามารถเกิดเชื้อแบคทีเรียในปากได้มาก เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายด้วยเอนไซม์อะไมเลส หรือไทยาลีนในน้ำลายนั่นเอง เพราะฉะนั้นใครที่กินข้าว ดื่มน้ำหวานๆ แล้วไม่ดื่มน้ำเปล่าตาม หรือกลั้วปากด้วยน้ำ หลังจากนั้นจึงอาจเกิดกลิ่นปากได้

 

  1. โรคในช่องปาก และคอ

ใครที่มีปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ หรืออาการติดเชื้อที่ช่องคอ เช่น ไซนัส ปอด ปากคอแห้งจากปัญหาน้ำลายน้อย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากได้เช่นกัน

>> คุณมีไหม? “ขี้ไคลทอนซิล” สาเหตุกลิ่นปากรุนแรงไม่หาย

 

  1. โรคประจำตัวอื่นๆ

ยังมีโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นปากอีกมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน กรดไหลย้อน มะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคหืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารอื่นๆ หากมีโรคประจำตัวดังกล่าวสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นปากที่เกิดขึ้นได้

 

  1. ยาบางชนิด

เชื่อหรือไม่ว่าการทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

  1. สิ่งแปลกปลอมในช่องปาก จากการทำทันตกรรม

ไม่ว่าคุณจะใส่ฟันปลอม เหล็กดัดฟัน รีเทนเนอร์ หรือการทำวีเนียร์ หากไม่ดูแลรักษาฟันให้ดี หรือหากเลือกทำกับคนที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ อาจทำให้คุณภาพที่ทำออกมาไม่ดี จนมีเศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดลำบาก จนเกิดเป็นกลิ่นปากได้

>> "วีเนียร์” ฟันขาวเรียงขนาดสวยราวกับดารา กับ 10 ข้อเสียที่ควรทราบก่อนทำ

 

  1. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ช่องปากมีกลิ่นด้วยเช่นกัน

 

วิธีแก้ปัญหากลิ่นปากอย่างง่ายๆ

  1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรืออาจแปรงฟันหลังทานอาหารได้ (ไม่ควรแปรงฟันหลังอาหารทันที ควรแปรงหลังทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันฟันกร่อน)

  2. ทุกครั้งที่แปรงฟัน ควรแปรงลิ้นด้วย เพื่อลดแบคทีเรีย และคราบโปรตีนที่อยู่บนผิวลิ้น

  3. หากมีปัญหาในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ และอื่นๆ ควรพบทันตแพทย์เพื่อรักษาทันที อย่าปล่อยไว้นาน

  4. อย่าใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟัน เพราะไม่สามารถกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันได้

  5. ดื่มน้ำมากๆ ไม่ว่าจะหลังมื้ออาหาร หลังทานขนม เครื่องดื่ม หรือระหว่างวันก็ควรดื่ม หรือจิบน้ำด้วย

  6. งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

  7. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และฟันทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook