“นั่งเล่นมือถือ” ขณะขับถ่ายใน “ห้องน้ำ” เสี่ยงอันตราย

“นั่งเล่นมือถือ” ขณะขับถ่ายใน “ห้องน้ำ” เสี่ยงอันตราย

“นั่งเล่นมือถือ” ขณะขับถ่ายใน “ห้องน้ำ” เสี่ยงอันตราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

สังคมก้มหน้าที่ต้องคอยติดตามข่าวสารผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตต่างๆ ทำให้ชีวิตของคนเรามีสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยที่ 5 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ ดังนั้นเราจึงเห็นหลายคนถือโทรศัพท์มือถือติดตัวไปด้วยตลอดเวลา  ไม่ว่าจะที่ไหนหรือเมื่อไร แม้กระทั่งขณะนั่งถ่ายในห้องน้ำ และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่อร่างกายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว

 

นั่งเล่นมือถือขณะขับถ่ายในห้องน้ำ เสี่ยงอันตราย

  1. ท้องผูก

ไม่ใช่แค่อาหารการกินที่ไม่ถูกต้องที่ทำให้เราท้องผูก (>>อาการ "ท้องผูก" รู้ก่อน ป้องกันได้) แต่การนั่งขับถ่ายอยู่บนโถส้วมนานๆ (แม้กระทั่งการนั่งเฉยๆ ไม่ได้ถ่าย) ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในอาการท้องผูกมากยิ่งขึ้น เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือขณะถ่ายอาจดึงคสมาธิ และความสนใจในการถ่ายไปจากเรา ทำให้ต้องขับถ่ายนานกว่าปกติ รวมถึงอาจหายปวดท้องจนไม่ได้ถ่ายไปเลยก็ได้

 

  1. ริดสีดวงทวาร

การนั่งถ่ายนาน และการเบ่งถ่ายเป็นการเพิ่มแรงดันบริเวณปากทวารหนักมากยิ่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้เลือดคั่งบริเวณทวารหนัก จนเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวารได้

 

  1. ท้องร่วง

ทราบหรือไม่ว่าโทรศัพท์มือถือที่เราหยิบเข้าไปในห้องน้ำ เมื่อเราวางตามพื้นที่ต่างๆ ในห้องน้ำ รวมถึงมือที่เราหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องน้ำแล้วมาจับที่มือถืออีกครั้ง เป็นการส่งผ่านเชื้อโรคมากมายหลายร้อยชนิดที่พบได้ในห้องน้ำทั่วไป และเมื่อเราไม่ได้ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ การหยิบจับมือถือแล้วไปหยิบอาหารเข้าปาก ก็อาจทำให้เรามี่ความเสี่ยงต่อโรคท้องร่วงได้

>> ระวัง! เชื้อโรคในห้องน้ำ ก่อโรคสารพัด

>> ห้องน้ำสาธารณะ "สกปรก-อันตราย" ขนาดไหน?

 

  1. หน้ามืด เหน็บชา

หลายคนนั่งบนโถส้วมแบบชักโครก แล้วก้มตัวลงเอาศอกยันต้นขาหรือเข่า ท่านั่งในลักษณะนี้อาจทำให้เกิดอาการเหน็บชาที่ขาได้ รวมไปถึงอาการหน้ามืดที่เกิดจากการก้มตัวลงจ้องมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แล้วลุกขึ้นจากโถส้วมอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการหน้ามืดขึ้นได้เช่นกัน หากเกิดอาการหน้ามืดอย่างรุนแรงระหว่างที่ทำธุระในห้องน้ำ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่อันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย ทานอาหารไม่เพียงพอ โลหิตจาง เบาหวานกำเริบ หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

คำแนะนำในการขับถ่ายในห้องน้ำอย่างถูกวิธี

ไม่ควรใช้เวลาขับถ่ายในห้องน้ำเกิน 10-15 นาที ควรเข้าไปเพื่อตั้งใจขับถ่ายจริงๆ หากนั่งนานแล้วยังไม่ถ่าย ให้ออกมาจากห้องน้ำก่อน อาจดื่มน้ำ นม หรือผลไม้ให้มากขึ้น แล้วค่อยรอจนกว่าจะปวดท้องเพื่อขับถ่ายอีกครั้ง เมื่อขับถ่ายเสร็จให้รีบออกมาจากห้องน้ำทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook