“หลังห่อคอตก” (Text Neck Syndrome) โรคที่พนักงานออฟฟิศเสี่ยงมากที่สุด
ออฟฟิศซินโดรม เป็นคำที่เรียกรวมโรคที่เกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศหลายๆ โรค ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอบ่าไหล่ธรรมดาๆ ไปจนถึงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (>> 5 พฤติกรรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”) แต่นอกจากอาการเหล่านี้ ยังมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ รวมถึง โรค “หลังห่อคอตก” ด้วย
โรคหลังห่อคอตก คืออะไร?
โรคหลังห่อคอตก (Text Neck Syndrome) คือการทำกิจกรรมใดๆ นานจนเกิดการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลังช่วงต้นคอ ไล่ลงไปช่วงบ่า ไหล่ ไปจนถึงกลางหลัง
สาเหตุของโรคหลังห่อคอตก
- ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็ลเล็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นเวลานาน ศีรษะคนเราหนักประมาณ 5 กก. แค่ก้มหน้า 15 องศาก็จะเพิ่มแรงกดทับกระดูกสันหลังถึง 12 กก. ยิ่งก้มมากก็ยิ่งอันตรายมาก การก้มหน้าลงไปถึง 60 องศา แรงกดทับกระดูกสันหลังจะเพิ่มถึง 27 กก. ยิ่งก้มมาก ยิ่งปวดคอ ปวดบ่ามาก
- ก้มหน้าทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และอาจตั้งหน้าจอ วางคีย์บอร์ด และเมาส์ในระดับที่ไม่เหมาะสม
- จับพวงมาลัยขับรถยนต์ในระดับที่ไม่เหมาะสม อาจจะวางพวงมาลัยต่ำ หรือสูงไป และขับรถเป็นเวลานาน
- ก้มหน้า ห่อไหล่ ก้มหลังเป็นเวลานานจากการทำกิจกรรมอื่นๆ
อาการของโรคหลังห่อคอตก
อาการของโรคหลังห่อคอตก มีตั้งแต่อาการเบาๆ อย่างการปวดเมื่อยคอ สะบัก และบ่าเล็กน้อยหลังจากก้มหน้านานๆ ไปจนถึงกล้ามเนื้ออักเสบ แนวกระดูกเสื่อม หมอนรองกระดูกคอเสื่อม ไขสันหลัง รากประสาทบริเวณคอถูกกดทับ จนทำให้เกิดอาการชา หรือขา และมืออ่อนแรงได้
วิธีรักษาโรคหลังห่อคอตก
- ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ปรับปรุงพฤติกรรมการใช้งาน โดยมองแนวตรงระดับสายตาในหูจะต้องตรงกับหัวไหล่
- การออกกำลังกาย นั่งตัวตรง แอ่นไหล่ไปด้านหลัง แล้วดันคางไปด้านหลัง โดยที่ตานังมองไปด้านหน้า และศีรษะไม่ก้มหรือเงย ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
- ผ่าตัด และทำกายภาพบำบัด ในคนที่มีอาการหนัก