9 สัญญาณอันตราย “มะเร็งกระเพาะอาหาร”
มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยอาจจะพบว่าเป็นโรคนี้ในระยะหลังๆ เพราะอาการเริ่มต้นอาจทำให้คิดไปว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกระเพาะอาหารอื่นๆ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ เป็นต้น จนทำให้ผู้ป่วยชั่งใจไม่มาตรวจกระเพาะอาหารโดยละเอียด
สาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ดังนี้
- ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- เพศชาย มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง
- คนในครอบครัวมีประวัติที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ทานอาหารหมักดอง ตากเค็ม รมควัน มาก
- ติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารอยู่แล้ว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
- มีอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นละออง และสารเคมีบางชนิด
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- ทานผักผลไม้น้อยเกินไป
- ในเพศชาย ภาวะอ้วนอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ในเพศหญิงยังไม่ความสัมพันธ์ของทั้งสองโรคนี้
>> จริงหรือไม่? ทานอาหารค้างคืน อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
9 สัญญาณอันตราย โรคมะเร็งกระเพราะอาหาร
- รู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะหลังอาหาร
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- ไม่อยากรับประทานอาหาร
- มีอาการปวดแสบปวดร้อนที่กลางอก
- รู้สึกไม่สบายท้อง โดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบน และตรงกลาง
- อุจจาระมีเลือดปน
- อาเจียน โดยอาจอาเจียนปนเลือด
- น้ำหนักตัวลดลง
- อ่อนเพลียกว่าปกติ
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะที่เป็นโรค และพิจารณญาณของแพทย์แต่ละคน โดยทั่วไปจะมีด้วยกัน 3 วิธีคือ การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด และการใช้รังสีรักษา
วิธีป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน (ดื่มจนกว่าจะปัสสาวะเป็นสีใส หรือเหลืองจางมากๆ หากสีปัสสาวะเข้ม หรือทั้งวันแทบไม่ได้ปัสสาวะเลย ให้ดื่มน้ำเพิ่ม)
- ลดการทานอาหารแปรรูป ดองเค็ม ตากแห้ง
- หากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ฯลฯ ควรนัดตรวจกับแพทย์ เพื่อให้แพทย์นัดเช็กอาการเรื่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการทำงานกับฝุ่นหรือสารเคมีอยู่เป็นประจำ หากจำเป็นต้องมีเครื่องมือป้องกันสารเคทีเข้าสู่ร่างกาย
- งดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
- รักษาน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ ไม่ผอมไป ไม่อ้วนไป