อาหารชนิดใด เสี่ยงฟันผุ-โรคในช่องปากมากที่สุด?

อาหารชนิดใด เสี่ยงฟันผุ-โรคในช่องปากมากที่สุด?

อาหารชนิดใด เสี่ยงฟันผุ-โรคในช่องปากมากที่สุด?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทพ.สมนึก วัฒนสุนทร 
งานทันตกรรม   โรงพยาบาลศิริรราช
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


           หนึ่งในปัจจัยสี่ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นของชีวิตคนเราก็คืออาหาร ร่างกายของเราต้องการ อาหารด้วยความจำเป็น เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อการทำงาน เป็นต้น อาหาร ที่ร่างกายได้รับเข้าไปได้จากการเคี้ยวด้วยฟัน และการเคี้ยวอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผล ย่อมจะต้องได้จากการมีฟันที่ดี สมบูรณ์และแข็งแรง

           ฟันเป็นอวัยวะที่ธรรมชาติสร้างขึ้นให้เราใช้เคี้ยวอาหาร เป็นอวัยวะที่ต้องการความเอา ใจใส่ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ การขาดความเอาใจใส่ดูแลรักษาฟัน อาจก่อให้ เกิดโรคขึ้นกับฟัน นำไปสู่การสูญเสียฟัน ซึ่งจะทำให้เราขาดอวัยวะสำหรับเคี้ยวอาหาร ร่างกายก็จะขาดอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เกิดการเสื่อมและเสียสุขอนามัยของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เกิดปัญหา เกิดโรคขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การดูแลรักษาฟันจึงจำเป็น แต่ถึงแม้จะดูแลให้ดีเพียงใดก็ตาม ฟันก็อาจเกิดโรคขึ้นได้เนื่องจากโรคฟัน อันได้แก่ โรคฟัน ผุ และโรคเหงือกอักเสบ เกิดขึ้นเพราะความสกปรกในปากของเราเอง

           หลังอาหารทุกมื้อ ไม่ว่าเราจะกินอาหารอะไรก็ตาม มักจะมีเศษอาหารเหลือค้างอยู่ใน ช่องปาก จับเป็นคราบบนผิวฟันและซอกฟันเสมอ ซึ่งเราเรียกกันว่า คราบอาหารหรือ พลัค คราบนี้เองเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟัน โดยเหตุที่ มักเกิดปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรีย ในช่องปากได้ แล้วทำให้เกิดมีกรดขึ้นในน้ำลายกรดนี้เมื่อมีปริมาณมากขึ้น ๆ จนถึงระดับ หนึ่ง ก็จะกัดกร่อนผิวฟันและเนื้อฟันให้อ่อนยุ่ย เกิดเป็นรู ที่เรียกว่าโรคฟันผุ

           อีกกรณีหนึ่งก็คือ คราบอาหารดังกล่าวจะมีปฏิกิริยากับแคลเซียม ในน้ำลายซึ่งร่างกาย ขับออกมาตามปกติ เกิดเป็นคราบหินปูน หรือหินน้ำลายแข็ง ๆ จับอยู่รอบ ๆ คอฟันบริเวณ ที่ติดกับขอบเหงือก คราบแข็งที่ว่านี้จะก่อให้เกิดการระคายกับเนื้อเยื่อขอบเหงือก เกิดเป็น แผล ทำให้มีเลือดออกซึมจากเหงือกขณะแปรงฟันหรือเคี้ยวอาหาร อาจมีอาการรุนแรงมาก ขึ้นจนเกิดการอักเสบ บวมแดง มีหนองเกิดขึ้นด้วย ซึ่งเป็นอาการของโรคเหงือกอักเสบ ที่รู้ จักกันทั่ว ๆ ไปว่า โรครำมะนาด หรือ โรคปริทนต์

           ทั้งโรคฟันผุและโรครำมะนาด เป็นโรคที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านความเจ็บป่วย และปัญหาทาง ด้านการสูญเสีย กล่าวคือ ในด้านการเจ็บไข้หรือร่างกายมีโรค โรคทั้งสอง จะทำให้มีอาการปวดเจ็บทรมาน เกิดมีการอักเสบ มีการติดเชื้อ อาจเกิดเฉพาะบริเวณฟัน หรือเจ็บไปทั่วทั้งปาก บางครั้งบางคราวอาจลุกลามใหญ่โตแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคของระบบอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น 

           ในด้านการสูญเสีย สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการสูญเสียฟัน เริ่มตั้งแต่พอมีฟันผุ ฟันเป็นรู ก็จะเกิดอาการเสียว อาการปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้อย่างปกติ แม้จะบูรณะรักษาไว้ได้ แต่ก็อาจ เคี้ยวอาหารไม่ได้ดี ยิ่งถ้ามีอาการมากและรุนแรงจนรักษาไว้ไม่ได้ จำเป็นต้องถอนฟันออก เพื่อระงับหรือขจัดอาการก็จะยิ่งสูญเสียฟันไปอย่างถาวร หมดทางแก้ การเคี้ยวอาหาร ก็ยิ่งลำ บากมากยิ่งขึ้น นอกจากการสูญเสียความสามารถในการเคี้ยวอาหารแล้ว การสูญเสียฟันยัง มีผลทำให้สูญเสียความสวยงามของใบหน้า, เสียบุคลิกภาพ, และการออกเสียงในการพูด ตามอีก ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าโรคฟันเป็นโรคที่สำคัญ ควรระมัดระวังดูแลฟันอย่าให้เกิดโรค ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคฟันผุหรือโรครำมะนาดก็ตาม 

           ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า คราบเศษอาหาร หรือ พลัค เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรค ฟัน คราบพวกนี้มาจากไหน ตอบได้เลยว่า ก็มาจากอาหารที่เรากินกันอยู่ทุกมื้อทุกวันนี่เอง ฟันจะดีมีความแข็งแกร่งหรือเกิดเป็นโรคฟัน ย่อมขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากินกันอยู่เป็นประจำ ด้วย เราพบว่าอาหารบางชนิดจะส่งเสริมทำให้เกิดโรคฟันได้อย่างมาก แต่บางชนิดก็ไม่ทำ ให้เกิดโรคฟัน การเลือกกินอาหารให้ถูกทันตสุขอนามัย จะเป็นการช่วยลดปัญหาโรคฟัน ได้อย่างดี 

 

อาหาร กับโรคฟัน

อาหารเสี่ยงฟันผุ-เหงือกบวม-เหงือกอักเสบ

           อาหารที่มีความสัมพันธ์กับฟันเป็นอย่างมาก ได้แก่ อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เป็น อาหารที่เรากินกันอยู่เป็นประจำแทบทุกมื้อ ทั้งคาวและหวาน ได้แก่อาหารจำพวกแป้งและ น้ำตาลทั้งหลาย ยกตัวอย่างเช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมเค้ก รวมไปถึงของหวานอื่นๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ช็อกโกแลต ลูกกวาด เป็นต้น อาการพวกนี้มีลักษณะนุ่ม เคี้ยวง่าย แต่มักจะจับคลุมอยู่ตามซอกฟันหรือผิวฟัน เป็นคราบแฉะๆ ลื่นๆ ไม่สะดุดความรู้สึกของ ลิ้น ทำให้เราไม่รู้ตัวว่าฟันของเราสกปรก บางชนิดก็มีลักษณะเหนียว เช่น ลูกกวาด ลูกอม ก็จะยิ่งจับผิวฟันได้แน่นขึ้นไปอีก ขนาดแปรงฟันแล้วยังหลุดออกไปไม่หมด 

           อาหารพวกนี้เป็นอาหารที่เสริมให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย รวมไปถึงโรคของเหงือกด้วย ถ้ากินอยู่เป็นประจำ เพราะมันมีปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียในปาก เกิดเป็นกรดขึ้นในน้ำลาย ทำลายฟันให้เป็นรูผุ อีกทั้งยังเป็นที่จับของตะกอนแคลเซียมในน้ำลาย เกิดเป็นคราบหิน ปูนแข็ง ๆ รอบคอฟัน ก่อให้เกิดการระคายจนขอบเหงือกเป็นแผล เกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบ 

           อาหารพวกนี้จึงควรงด หรือลดปริมาณลง กินให้น้อย ๆ เท่าที่จำเป็น เมื่อกินแล้วต้อง นึกเสมอว่ามันจับติดฟันได้งายและแน่นเสียด้วย ต้องพยายามแปรงฟันขจัดออกให้หมดเท่าที่ จะทำได้ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาก่อให้เกิดโรคฟันและเหงือก 


อาหารที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุน้อย


           สำหรับอาหารที่ไม่ค่อยทำให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ ได้แก่ อาหารพวก โปรตีน ไขมัน ผักและผลไม้ อาหารโปรตีนก็คืออาหารพวก เนื้อ หมู เป็ด ไก่ ฯ อาหารพวกนี้ขณะกิน ต้องเคี้ยวช้า ๆ ต้องออกแรงเคี้ยว ใช้ฟันบดให้แหลกจึงจะกลืนได้ ทำให้ก้อนอาหารต้องถูก บด ไปกับผิวฟัน จึงเท่ากับเป็นการขัดผิวฟันไปด้วยในตัว ผักและผลไม้ เป็นอาหารทีมีใย มีกาก ขณะที่เคี้ยวกินใยของมันจะถูขัดไปกับผิวฟัน ช่วยให้ผิวฟันสะอาด 

           บางครั้งบางที อาหารเหล่านี้อาจตกลงไปติดอยู่ตามซอกฟันได้บ้าง แต่กากจะติดเป็น ก้อนโต และมีความแข็ง สะดุดความรู้สึกของลิ้น ทำให้เกิดความรำคาญ ต้องหาทางเขี่ยออก ส่วนผักและผลไม้ แม้จะมีความหวานอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ติดเป็นคราบบนผิวฟัน จึงไม่ก่อให้เกิด โรคของฟันและเงือก 



           อาหารแข็ง มักจะไม่ค่อยทำให้เกิดโรคฟัน เพราะขณะเคี้ยวมันจะถูไปกับฟัน และไม่ค่อย จับฟันเป็นคราบอาหารพวกนี้ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วงดิบ เป็นต้น การเคี้ยว อาหารแข็งเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความถึงของแข็ง เช่น กระดูก ก้ามปู ฯ ซึ่งถ้าเคี้ยว อาหารพวกนี้อาจเกิดอันตรายทำให้ฟันแตกบิ่นได้ง่าย ส่วนอาหารเหลว ซึ่งมักจะเป็นอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรทนั่นเอง เช่น น้ำนม ขนมหวาน อาหารพวกนี้จับผิวฟันได้ง่าย และไม่ ค่อยรู้สึกตัว ทำให้เกิดโรคของฟันและเหงือกได้ง่าย 

 

อาหาร กับอาการเสียวฟัน

           โดยทั่ว ๆ ไป อุณหภูมิของอาหารจะไม่มีผลทำให้เกิดโรคของฟันและเหงือก แต่ถ้าเป็น อาหารที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป ก็อาจกระตุ้นทำให้เกิดมีอาการเสียวหรือปวดฟันได้ ทางที่ดีจะกินอะไร ก็อย่าให้ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไปจะดีที่สุด 
           - ของหวาน ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันและเหงือกได้ง่าย เพราะเป็นคาร์โบไฮเดรท เสียส่วนใหญ่ ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น 
           - ของเค็ม ไม่มีปัญหาอะไรต่อฟัน 
           - ของเปรี้ยว มักจะทำให้เสียวฟัน ได้แก่ผลไม้ดิบ ๆ เช่น มะม่วง มะปราง ฯ เนื่องจาก มีกรด ขณะเคี้ยวกรดจะจับอยู่บนผิวฟัน และซึมเข้าไปในเนื้อฟันได้บ้าง จึงทำให้เสียวฟัน แต่ก็ไม่ใช่ความผิดปกติที่จะต้องแก้ไขแต่อย่างใด เมี่อหยุดกินสักระยะ สภาพการณ์ที่ เกิดขึ้น ก็จะหายไปได้เอง

           ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ คงจะทำให้ท่านเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟันกับอาหาร ที่รับประทานได้ดีและชัดเจนยิ่งขึ้น ความเข้าใจในเรื่องนี้ คงจะช่วยให้ท่านสามารถเลือกรับ ประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดโรคฟันและเหงือกได้ถูกต้อง และคงจะรู้ว่าอาหารอะไร ที่จับติดผิวฟันได้ง่าย ส่งเสริมให้ฟันและเหงือกเกิดเป็นโรค เพื่อที่ท่านจะได้แปรงฟันขจัด ออก แม้ว่าท่านจะต้องรับประทานอาหารจำพวกนั้น

 

___________________

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>>  SIRIRAJ  E-PUBLIC  LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook