รู้จัก "เครื่องสลายนิ่ว" หรือ "ระเบิดนิ่ว" สำหรับผู้ป่วยที่พบก้อนนิ่วในร่างกาย

รู้จัก "เครื่องสลายนิ่ว" หรือ "ระเบิดนิ่ว" สำหรับผู้ป่วยที่พบก้อนนิ่วในร่างกาย

รู้จัก "เครื่องสลายนิ่ว" หรือ "ระเบิดนิ่ว" สำหรับผู้ป่วยที่พบก้อนนิ่วในร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

ประเทศเยอรมันตะวันตก เป็นประเทศแรกที่คิดค้นเครื่องระเบิดนิ่ว และผลิตรุ่นแรกออกเป็นทางการค้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เครื่องระเบิดนิ่วประกอบด้วยส่วนให้พลังงาน ซอร์คเวฟ หรือคลื่นเสียงความถี่สูง, ส่วนบังคับพลังงานให้ไปรวมศูนย์ที่ก้อนนิ่วส่วนตรวจหานิ่วก่อนใช้ยิงพลังงานที่เกิดต้องผ่านน้ำก่อนถึงผิวหนังผู้ป่วย เมื่อนิ่วถูกระแทกโดยพลังงานนั้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็จะแตกเป็นเศษเล็ก ๆ เท่าเม็ดทราย ปนออกมากับปัสสาวะ จนกระทั่ง พ.ศ. 2530 ทางประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้รักษาผู้ป่วยร่วม 3 แสนคน ประสบความสำเร็จเอานิ่วออกจากไตและหลอดไตราว 70 - 99 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว ข้อดีของเครื่องนี้ไม่มีแผล อยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 3 วัน และไปทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องพักรักษาตัวนานเหมือนการผ่าตัดใหญ่ 

เนื่องจากสาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (ระบบปัสสาวะ) ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ได้ผ่าตัดรักษานิ่วในไตและหลอดไตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 และผ่ามากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะนี้จะผ่านิ่วในไตหรือหลอดไตปีละประมาณ 230 - 260 ราย นอกจากนี้ยังได้ใช้วิธีใหม่คือการเจาะรูแล้วใส่คล้องไปคีบนิ่วออก ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 แต่ทั้ง 2 วิธีก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเกิดใหม่ และเหลือค้างของนิ่วหลังผ่าตัด ถ้าจะผ่าตัดครั้งที่ 2 หรือ 3 มักเสียเลือดมาก อาจต้องตัดไตข้างนั้นออกโดยไม่อยากตัดก็เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย และประการสำคัญการผ่าตัดมีการทำลายเนื้อไตและโรคแทรกซ้อนมาก จึงมีความจำเป็นต้องพยายามที่จะมีเครื่องสลายนิ่วไว้เป็นส่วนร่วม หรือรักษา เพื่อคุณภาพของไต

โรงพยาบาลศิริราช มีผู้ป่วยนิ่วที่มารับการผ่าตัดรักษาเกี่ยวกับนิ่วในไตและหลอดไต จากทุกภาคของประเทศ ดังสถิติในปี พ.ศ.2528-2529 ผู้ป่วยมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง 25 เปอร์เซ็นต์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน) 30 เปอร์เซ็นต์, ภาคเหนือ 10 เปอร์เซ็นต์ และภาคใต้ 5 เปอร์เซ็นต์ และผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่เตียงอนาถา ฉะนั้นจึงต้องมีเครื่องนี้ไว้ช่วยในรายที่จำเป็น นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรียนแพทย์เพื่อให้มีวิชาการก้าวหน้าด้วย 

เครื่องสลายนิ่วของเรา ผู้ป่วยไม่ต้องดมยาสลบ เริ่มเปิดใช้อย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2531 จนปัจจุบัน รวมประมาณ 50 กว่าราย ได้ผลแตกและหลุดออกหมดในวันรุ่งขึ้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ผลจะต้องรอ 3 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนิ่วและตำแหน่ง

ข้อกำหนดการใช้เครื่องสลายนิ่วของโรงพยาบาลศิริราชคือเป้าหมายใหญ่ 

          1. รักษานิ่วในไตและหลอดไต ซึ่งผ่าตัดลำบาก เช่น เกิดใหม่ หรือเหลือค้าง 

          2. เพื่อช่วยผู้ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถไปทำทางเอกชนได้ (แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ว่ารักษาด้วยวิธีนี้ได้) 

          3. บริการผู้ที่รับราชการเบิกค่ารักษาจากต้นสังกัดได้ และมีฐานะดีพอจะเสียค่าบริการตามอัตราของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
     

สุดท้ายนี้โปรดระลึกถึงว่าการผ่าตัดรักษานิ่วในไตยังมีความจำเป็นในปัจจุบันอยู่ และการใช้เครื่องสลายนิ่วไม่สามารถทำได้ทุกราย โดยเฉพาะถ้ามีการตีบตันของท่อไต, ไตพองมาก หรือมีการติดเชื้อรุนแรง

 

___________________

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>>  SIRIRAJ  E-PUBLIC  LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook