7 วิธีลดเสี่ยง “เส้นเลือดในสมองแตก” แนะนำโดย ม.ฮาร์วาร์ด

7 วิธีลดเสี่ยง “เส้นเลือดในสมองแตก” แนะนำโดย ม.ฮาร์วาร์ด

7 วิธีลดเสี่ยง “เส้นเลือดในสมองแตก” แนะนำโดย ม.ฮาร์วาร์ด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร เพศอะไร คุณก็เสี่ยงภาวะเส้นเลือดในสมองแตกได้ทั้งนั้น ป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ดีที่สุด 7 วิธีง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยคุณลดความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตกอย่างได้ผลแน่นอน

7 วิธีลดเสี่ยง “เส้นเลือดในสมองแตก”

1. ลดระดับความดันโลหิต

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประสบปัญหาความดันสูง ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือการลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้ได้มากที่สุด ทางที่ดีที่สุดคือให้ระดับความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 135/85 หรืออาจจะเป็น  140/90 สำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว

วิธีลดความดันโลหิตง่ายๆ คือ การลดทานอาหารเค็ม ลดการปรุงรสในอาหาร (ลดการทานอาหารรสจัด) ลดการทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างต่ำ 30 นาทีต่อวัน และงดการสูบบุหรี่

2. ลดน้ำหนัก

คนที่อยู่ในเกณฑ์อ้วน หรือน้ำหนักมากกว่าระดับมาตรฐาน มีโอกาสเส้นโลหิตในสมองแตกมากกว่าคนปกติ โดยคนที่เป็นโรคอ้วนมี่ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นๆ ที่อันตรายอย่าง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย ดังนั้นพยายามรักษาระดับ BMI ให้ได้น้อยกว่า 25 เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจะดีที่สุด

วิธีลดน้ำหนักที่ได้ผล คือการลดการทานอาหารลง ลองทานอาหารเพียง 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หากไม่ถนัดนับแคลอรี่ ให้ลดการทานอาหารที่มีพลังงานสูง อย่าง อาหารที่มีแป้งไม่ขัดสี และน้ำตาลสูงเกินไป เพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหารมากขึ้น และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นการเพิ่มกิจวัตรประจำวันเข้าไป เช่น เดิน วิ่ง วิ่งขึ้นบันได เล่นกีฬา และอื่นๆ เป็นต้น

3. ออกกำลังกายให้มากกว่าเดิม

ใครที่ปกติออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองออกกำลังกายมากพอหรือยัง ลองปรึกษาแพทย์ หรือเทรนเนอร์ได้ แต่หากใครแทบจะไม่ออกกำลังกายเลย ควรหากเวลาออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน หรืออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาทีติดต่อกันกันเป็นอย่างต่ำ หากไม่สามารถออกกำลังกายติดต่อกัน 30 นาทีได้ ให้พักเหนื่อย 10-15 นาที แล้วค่อยออกกำลังกายต่อ

การออกกำลังกายที่ได้ผลต่อร่างกาย คือ การออกกำลังกายด้วยวิธีใดก็ได้ที่ทำให้ตัวเองเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหนื่อยจนเหงื่อออก หรือเหนื่อยจนหอบ แต่ยังสามารถพูดคุยได้อยู่ หากเหนื่อยมากเกินไปจนรู้สึกหายใจไม่ทัน ไม่สามารถพูดคุยอะไรได้เลย อาจแปลว่าคุณออกกำลังกายหนักเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมถึงหัวใจได้

4. หากชอบดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มไวน์วันละแก้ว

มีรายงานการศึกษาพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์วันละ 1 แก้ว (ขนาดปกติ ไวน์ไม่เกิน 147 มล., เบียร์ไม่เกิน 354 มล. และ 44 มล. สำหรับแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์แรง) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ แต่ควรระวังอย่าดื่มเกินวันละ 1 แก้ว และควรเลือกดื่มไวน์แดงเป็นตัวเลือกแรกๆ เพราะไวน์แดงมีเรสเวอราทรอล (ที่พบมากในถั่วลิสง ผลหม่อน เมล็ดองุ่น และไวน์แดง) ที่ช่วยปกป้องให้หัวใจ และสมองแข็งแรง

5. รักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วให้หาย

สำหรับใครก็ตามที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อย่างภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) ที่เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โดยการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะอาจทำให้เกิดลิ่มเลือด และลิ่มเลือดอาจถูกสูบฉีดไปที่สมอง จนอาจเกิดความเสี่ยงของภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตันจนแตกได้นั่นเอง ดังนั้นใครก็ตามที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุด

6. รักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในภาวะเส้นเลือดในสมองแตกได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ

7. หยุดสูบบุหรี่

หากคุณกำลังสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิกโดยเร็วที่สุด เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เลือดของคุณข้นขึ้น เพิ่มไขมันที่จะเข้าไปเกาะตัวในหลอดเลือดมากขึ้น จนทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกมากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้สูบบุหรี่

สามารถขอคำปรึกษาวิธีการเลิกบุหรี่ได้ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ทุกแห่ง

>> 5 สัญญาณอันตราย “เส้นเลือดในสมองตีบ”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook