เช็กลิสต์ 6 ข้อ คุณติดกิน "เค็ม" เกินไปหรือไม่?

เช็กลิสต์ 6 ข้อ คุณติดกิน "เค็ม" เกินไปหรือไม่?

เช็กลิสต์ 6 ข้อ คุณติดกิน "เค็ม" เกินไปหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา ต้องการโซเดียมต่อวันเพียงแค่ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น ในขณะที่หลายคน หันมากินเค็มมากเป็น 3 เท่าตัว ซึ่งหากยังไม่หยุดพฤติกรรมการกินเค็มดังกล่าว ก็ย่อมนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในภายหลังได้ เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกเหนือจากนี้แล้ว โทษจากการกินเค็มมาก ยังทำให้เกิดโรคหอบหืดชนิดรุนแรงขึ้นได้ ทั้งยังเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน รวมถึงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้มากขึ้นอีกด้วย

6 นิสัยของคนไทยที่ทำให้ติดอาหารรสเค็ม

  1. ปรุงรสชาติอาหารโดยไม่ชิมก่อน

อาหารส่วนใหญ่จะผ่านการเติมซอสปรุงรส หรือผงปรุงรสมาแล้วแทบทั้งนั้น แต่คนไทยมักจะเรียกหาเครื่องปรุงเพื่อเติมแต่งรสชาติเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา น้ำตาล และน้ำส้มสายชู บางครั้งยังไม่ทันชิมก็ตักเครื่องปรุงลงไปตามความเคยชินแล้ว

 

  1. ชื่นชอบการกินอาหารแปรรูปมาก

ประเด็นนี้มาจากความเร่งรีบของวิถีชีวิต ทำให้ไม่มีเวลาสนใจในการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าหรือดีต่อสุขภาพ แต่เลือกอาหารที่เร็วและง่ายเพื่อประหยัดเวลา โดยเฉพาะอาหารแปรรูปอย่าง ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งอาหารแปรรูปเหล่านี้มีโซเดียมจากกระบวนการถนอมอาหาร และมีโซเดียมแฝงเข้ามาอีก จากการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ เพื่อได้ให้สี กลิ่น รส และสัมผัสที่ถูกใจผู้บริโภค จึงทำให้ได้โซเดียมคูณสองเข้าไปอีก

 

  1. จิ้มน้ำจิ้มไม่ยั้ง

เป็นอีกเรื่องที่ทำกันแบบแทบไม่รู้ตัว คือการราดน้ำจิ้มแบบเยอะ ๆ หรือจิ้มน้ำจิ้มแบบมาก ๆ แม้ว่าอาหารบางอย่างก็มีโซเดียมอยู่แล้ว พอจิ้มน้ำจิ้มเพิ่มเข้าไปก็ยิ่งได้รับโซเดียมเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งน้ำจิ้มถือเป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ทำให้คนไทยได้รับโซเดียมสูง

 

  1. ซดน้ำซุปแทบหมดชาม

อาหารกลุ่มก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สุกี้ต่างๆ รวมไปถึงน้ำแกง ทั้งที่มีกะทิและไม่มีกะทิ อย่างต้มยำ ต้มโคล้ง เป็นอาหารอีกประเภทที่คนไทยชอบรับประทาน และน้ำซุปที่อร่อยเข้มข้นก็ยิ่งทำให้ถูกปากถูกใจ นอกจากเส้นแล้วก็ซดน้ำแทบหมดชามเพราะซดแล้วอร่อย ซึ่งน้ำซุปแทบทุกชนิดมีการเติมซอสปรุงรส หรือผงปรุงรสต่างๆ ลงไป ซึ่งถือว่ามีโซเดียมปริมาณสูงมาก

 

  1. เสพติดการซดน้ำยำและน้ำจากส้มตำ

ส้มตำต่างๆ อาหารประเภทยำ ส้มตำ ถือเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยจำนวนมาก ยิ่งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ยิ่งชอบ กินเพลินๆ ทั้งเนื้อ ทั้งน้ำจนหมดจาน สุดท้ายก็ได้โซเดียมเข้าร่างกายไปทั้งหมด ซึ่งน้ำยำน้ำส้มตำเหล่านี้ มีการเติมผงปรุงรสที่มีโซเดียมสูง โดยสารปรุงรสเหล่านี้มักไม่ค่อยเค็ม จึงต้องมีการเติมลงไปมาก เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ ขณะที่ส้มตำหรือยำบางอย่าง มีการใส่ปลาร้าที่มีโซเดียมสูงอยู่แล้วเช่นกันลงไปด้วย ก็ยิ่งได้รับโซเดียมมากเกินไปใหญ่

 

  1. ชอบเติมน้ำปรุงรสให้อาหารเค็มเพิ่ม หรือเค็มไว้ก่อน

น้ำปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ 4 จตุรเทพที่คนไทยชอบกินเช่นกัน ซึ่งวิธีในการทำอาหารทั้ง 4 อย่าง โดยธรรมชาติของอาหารเหล่านี้มีโซเดียมผสมอยู่แล้ว และหากมีการปรุงรสเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะยิ่งได้โซเดียมจากสารปรุงรสเข้าไป

 

แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดอาหารรสเค็ม

  • ชิมรสชาติอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะปรุงอะไรเพิ่มลงไป เพื่อลดการได้รับความเค็มมากจนเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ

  • หันมาทำอาหารรับประทานเองสักวันละมื้อ เน้นซื้อของสดมาปรุงกับข้าวรับประทานเองบ้าง ก็จะช่วยลดการรับปริมาณโซเดียมลงไปได้ ที่สำคัญคือต้องคุมการปรุงรสชาติอาหารให้ได้ด้วย

  • ลดการใช้น้ำจิ้มลงหรือจิ้มเพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยลดการรับโซเดียมลงไปได้อย่างมาก

  • ลดการซดน้ำซุปต่างๆ ลง เน้นรับประทานเฉพาะเส้นและเครื่องเคียง ก็สามารถช่วยลดปริมาณโซเดียมที่จะได้รับในแต่ละวันลงไปได้

  • บอกพ่อค้าแม่ค้าให้ลดการเติมผงชูรส ลดเค็มหรือทำอาหารให้มีรสเค็มน้อยๆ ก็สามารถช่วยลดโซเดียมลงได้

  • ลดความถี่ในการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด เช่น ปลาร้า กะปิ หรือหากต้องกิน ก็ให้ลดการปรุงรสส่วนอื่นลง ซึ่งก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณโซเดียมได้เช่นกัน 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook