"แสตมป์มรณะ" ระบาดหนัก อันตรายถึงชีวิต

"แสตมป์มรณะ" ระบาดหนัก อันตรายถึงชีวิต

"แสตมป์มรณะ" ระบาดหนัก อันตรายถึงชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ เตือนนักท่องเที่ยวใช้ “แสตมป์มรณะ” อมใต้ลิ้น อาจเกิดอาการหลอนประสาทอย่างรุนแรง และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

แสตมป์มรณะ คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากข่าวการจับกุมผู้ค้า "แสตมป์มรณะ" ที่ระบาดในกลุ่มนักท่องเที่ยว "กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ แสตมป์มรณะ" เป็นการนำสาร แอลเอสดี (LSD) ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์หลอนประสาท เมื่อหยดลงบนกระดาษที่มีคุณสมบัติดูดซับ (blotter paper) อาจมีลวดลายและสีสันต่างๆ แล้วแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีลักษณะคล้ายแสตมป์ ใช้อมใต้ลิ้น โดยจะออกฤทธิ์ภายใน 30 – 90 นาที นาน 8 – 12 ชั่วโมง จะทำให้รูม่านตาขยาย อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ความดันโลหิตลดลงและอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เหงื่อออก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปากแห้ง และมือสั่น เมื่อเสพสารแอลเอสดีเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะมีความสุข อารมณ์ดี รู้สึกคึกคัก หลังจากนั้นจะเกิดอาการประสาทหลอนอย่างรุนแรง เห็นภาพหรือเหตุการณ์ในอดีต เกิดอาการหวาดกลัวจนกระทั่งอาจทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายผู้อื่นและอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

 

อันตรายของ แสตมป์มรณะ

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า  ผู้ที่เสพสารแอลเอสดีเกินขนาดมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตเรื้อรัง เช่น โรคจิตเภท หรือโรคซึมเศร้า เกิดอาการหวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน แม้จะหยุดใช้ยาแล้วแต่อาการโรคจิตอาจเป็นซ้ำได้อีก 

การรักษาอาการหลังจากเสพสารแอลเอสดีเกินขนาดทำได้ยาก และอาจต้องใช้เวลานานเพื่อให้อาการทุเลาลง จึงฝากย้ำเตือนกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่นิยมเสพสารแอลเอสดี ให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา การเสพสารแอลเอสดี ทำให้ผู้เสพมีปัญหาด้านการรับรู้ การคิดและการตัดสินใจ อาจนำมาซึ่งเหตุรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน การทำร้ายตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นผลจากเกิดภาพหลอนหลังจากการเสพสาร แอลเอสดี ห

ากประสบปัญหาเกี่ยวกับยาและสารเสพติดสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลาและปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook