ฟรี! หญิงไทย 30-60 ปี แนะตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก” ก่อนสายเกินไป

ฟรี! หญิงไทย 30-60 ปี แนะตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก” ก่อนสายเกินไป

ฟรี! หญิงไทย 30-60 ปี แนะตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก” ก่อนสายเกินไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ชี้เดือนมกราคม เดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก แนะเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุมะเร็งปากมดลูก และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยในปี 2532 มีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 23.4 คนต่อประชากรแสนคน ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยในยุคนั้น ในอดีตผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรค ทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีการผลักดันโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นนโยบายของประเทศขึ้นตั้งแต่ปี 2545

โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่สำคัญที่ช่วยให้สามารถตรวจหาโรคมะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกหรือในระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยผู้หญิงไทยอายุ 30-60 ปี สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากดำเนินการโครงการคัดกรองฯ อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันมีอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกลดลงเหลือเพียง 11.7 คนต่อประชากรแสนคน จัดเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับสามของมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทย โดยมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 5,513 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 2,251คน/ปี

 

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคนและการสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มอีกด้วย

 

อาการของมะเร็งปากมดลูก

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ มีเลือดหรือของเหลวออกทางช่องคลอดหรือมีการตกขาวผิดปกติ มีประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ และมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์หรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

 

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ 70-90% อย่างไรก็ตามผู้ที่ฉีดวัคซีนนี้แล้วยังคงต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุมะเร็งปากมดลูกและยังคงต้องรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook