“ตัวเลข” จากข้อมูลใบตรวจสุขภาพ บอกอะไรเราบ้าง?

“ตัวเลข” จากข้อมูลใบตรวจสุขภาพ บอกอะไรเราบ้าง?

“ตัวเลข” จากข้อมูลใบตรวจสุขภาพ บอกอะไรเราบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนที่เข้าสู่วัยทำงาน หรือวัยชรา น่าจะคุ้นเคยกับการตรวจสุขภาพประจำปีกันมาบ้างแล้ว และเชื่อว่าหลายคนใช้วิธีเปิดดูแค่หน้าที่ตัวเองอยากรู้ เช่น ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าคอเลสเตอรอล ค่าตับ ค่าไต หรือบางคนหนักกว่านั้น คือเปิดไปที่หน้ากระดาษท้ายสุดที่เป็นการสรุปทุกอย่างคร่าวๆ

จริงๆ แล้ว ข้อมูลตัวเลขจากการตรวจสุขภาพ สามารถบอกอะไรเราได้หลายๆ อย่าง ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมาแนะนำวิธีดูตัวเลขเหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อให้เราเข้าใจสุขภาพของเราได้มากขึ้นตามไปด้วย

 

“ตัวเลข” จากข้อมูลใบตรวจสุขภาพ บอกอะไรเราบ้าง?

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะแยกออกมาเป็น 3 ส่วน ได้แก่

- เม็ดเลือดแดง (Hematocrit)
ค่าปกติ
ผู้หญิงอยู่ที่ 38% ขึ้นไป
ผู้ชาย 40% ขึ้นไป
หากต่ำกว่า 36% อาจเสี่ยงภาวะซีด หรือภาวะโลหิตจาง อาจจะเป็นสาเหตุของอาการเพลีย เหนื่อยง่าย ที่อาจเกิดขึ้นเพราะขาดสารอาหาร (ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่) โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็กที่มาจากเนื้อสัตว์ เครื่องใน ผักสีเขียวเข้ม หรืออาจทานอาหารเสริมธาตุเหล็กโดยเฉพาะมาทาน

- เม็ดเลือดขาว (WBC)
ปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่มีค่าปกติ อยู่ที่ 5,000-10,000 cell/mm3
หากพบเม็ดเลือดขาวมากเกินไป อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากร่างกายมีการติดเชื้อในบางส่วน หรือกำลังอยู่ในสภาวะเครียด
แต่หากเป็นการติดเชื้อไวรัสบางชนิด หรือการทานยาบางกลุ่ม อาจทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดขาวลดลงได้
การรักษาระดับปริมาณของเม็ดเลือดขาวให้อยู่ในช่วงปกติ ทำได้ง่ายๆ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารที่มีประโยชน์

- เกล็ดเลือด (Platet Count)
ปริมาณเกล็ดเลือดที่ปกติ จะอยู่ที่ 150,000-400,000
หากเรามีเกล็ดเลือดต่ำเกินไป หรือต่ำกว่า 70,000 cell/mm3เราอาจมีจ้ำเลือด หรือเลือกออกง่ายกว่าปกติ และอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาทีหลัง
หากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 หรือ 20,000 cell/mm3 อาจมีอาการที่อยู่เฉยๆ ก็เลือดออกได้
สาเหตุหลักๆ มาจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ และยารักษาโรคบางชนิดที่อาจส่งผลต่อเกล็ดเลือดได้ หากตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีเกล็ดเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)

คนทั่วไปปกติอยู่ที่ต่ำกว่า 100 mg/dL หากสูงกว่านี้แปลว่ามีค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
เช่น ค่าน้ำตาลในเลือดเกิน 126 mg/dL ร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด อาจป่วยเป็นเบาหวาน
หากค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ระหว่าง 180-200 mg/dL แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
นอกจากนี้ควรลดน้ำตาล น้ำหวาน ออกกำลังกายให้มากขึ้น และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย

 

  • ค่าระดับไขมันในเลือด

ที่เห็นกันชัดๆ คือ ค่าของคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์

คอเลสเตอรอล มีทั้งค่าที่ดี และค่าที่ไม่ดี
ค่าคอเลสเตอรอลโดยรวมควรมีค่าไม่เกิน 200 mg/dL
ถ้าเกิน สามารถดูรายละเอียดได้ว่า ค่าคอเลสเตอรอลตัวใดที่มากเกินไป

- HDL ไขมันดี = ตัว H คือ High ยิ่งสูงยิ่งดี ควรมากกว่า 60 mg/dL
ไขมันดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ใครที่มี HDL สูงอยู่แล้ว อาจเป็นเพราะทานอาหารที่ดีทีประโยชน์ และอาจมีส่วนจากกรรมพันธุ์ด้วย
เพิ่มปริมาณ HDL หรือไขมันดีได้โดยการงดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังทานไขมันดีเสริมได้ เช่น น้ำมันมะกอก ถั่ว ธัญพืชต่างๆ

- LDL ไขมันเลว = ตัว L คือ Low ยิ่งต่ำยิ่งดี ควรต่ำกว่า 130 mg/dL
หาใครที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ควรมีค่า LDL ต่ำกว่า 100 mg/dL

หาก LDL มากเกินไป ควรลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ และทานอาหารที่มีกากใยอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ รวมถึงออกกำลังกาย และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

- ไตรกลีเซอไรด์
ค่าปกติทั่วไปไม่ควรเกิน 150 mg/dL
หากมีค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไป อาจเสี่ยงตับอ่อนอักเสบได้
สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ด้วยการลดการดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน ข้าว แป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ออกกำลังกายเพิ่ม และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

  • ค่าระดับกรดยูริก (Uric Acid)

ค่ากรดยูริกเป็นปัจจัยที่วัยทำงาน และผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญ
ค่าปกติสำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 6 mg/dL
สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 7 mg/dL
หากมีอาการปวดข้อร่วมด้วย อาจเสี่ยงเป็นโรคเกาต์
แต่หากไม่ได้มีอาการปวดข้อ อาจเสี่ยงทำให้ไตเสื่อมได้
หากมีกรดยูริกสูง ควรลดการทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีก เครื่องใน ผักทอดยอด และควรลดการดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำหวานด้วย

 

  • การทำงานของไต (Kidney Function)

การทำงานของไต จะมีค่า BUN และ Creatinine อาจเรียกได้ว่าเป็นค่าของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย
BUN ไม่ควรเกิน 20 mg/dL
Creatinine ไม่ควรเกิน 1.2 mg/dL
หากมีค่าใดค่าหนึ่ง หรือทั้งสองค่านี้เกินกว่ากำหนด อาจเสี่ยงไตเสื่อมได้
สาเหตุที่ทำให้พบทั้งสองค่านี้เกินกว่ากำหนด อาจมีความเป็นไปได้ว่ามาจากการทำงานของไตเสื่อมลงจนไม่สามารถกรองเอาของเสียออกไปจากร่างกายได้เหมือนคนอื่น หรืออาจมาจากการทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (สามารถปรึกษาแพทย์ถึงความเป็นไปได้ในการเลี่ยง หรือหยุดยาที่กำลังทานอยู่ได้
นอกจากนี้ยังอาจมาจากการขาดน้ำ (ดื่มน้ำไม่เพียงพอ) และการกลั้นปัสสาวะ ดังนั้นจึงแนะนำให้ดื่มน้ำมากขึ้น และไม่ควรกลั้นปัสสาวะ

 

อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดปกติของค่าใดๆ ก็ตามหลังตรวจสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ให้ทำการตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อทำการรักษาให้ตรงสุด และแก้กันตั้งแต่สาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook