อาหารร้านแผงลอย อันตรายหรือไม่ ในช่วงฝุ่นละออง PM 2.5

อาหารร้านแผงลอย อันตรายหรือไม่ ในช่วงฝุ่นละออง PM 2.5

อาหารร้านแผงลอย อันตรายหรือไม่ ในช่วงฝุ่นละออง PM 2.5
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงที่ฝุ่นละออง PM 2.5 กำลังเล่นงานในบ้านเรา โดยเฉพาะชาวเมืองกันอย่างหนักขนาดนี้ (แถมยิ่งดึก ฝุ่นก็ยิ่งหนาแน่นขึ้นด้วย) ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่อง street food หรืออาหารข้างทาง จะโดนผลกระทบอะไรด้วยหรือไม่? อาหารเหล่านี้จะมีฝุ่นจนส่งผลกระทบถึงสุขภาพของคนทานหรือเปล่า?

 

ฝุ่นละออง PM 2.5 เล่นงานทั้งคนขาย และคนทานอาหารข้างทาง?

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงนี้สภาพอากาศมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูง พ่อค้า แม่ค้าที่ขายอาหารตามแผงลอยบนบาทวิถีนั้นมีความเสี่ยงที่จะได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน

นอกจากนี้การจำหน่ายอาหารบนบาทวิถีบางจุดเป็นสถานที่ที่มีควันรถ ฝุ่นละอองจากถนน การเตรียมปรุงประกอบอาหารไม่มีที่กำบังเพียงพอทำให้อาหารในร้านเสี่ยงต่อการปนเปื้อนฝุ่นหรือควันจากท่อไอเสียรถยนต์โดยเฉพาะร้านที่เปิดโล่ง ไม่มีการป้องกันฝุ่นควันที่ตกลงไปปนเปื้อนในอาหาร

 

ทานอาหารปนเปื้อนฝุ่น อันตรายอย่างไร?

การทานอาหารที่ปนเปื้อนฝุ่น ก็ทำให้มีฝุ่นขนาดเล็กเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น อุดตันการลำเลียงของโลหิตในเส้นเลือดเข้าสู่สมอง หรือหัวใจ เกิดการระคายเคือง อักเสบต่างๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจระหว่างทานอาหารได้อีกด้วย

ดังนั้น สำหรับร้านค้าที่ทำอาหารริมถนน ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ก่อนปรุงประกอบอาหารควรล้างเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ให้สะอาดทุกครั้ง

  2. ล้างภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ จาน ชาม ช้อน ให้สะอาดและมีการปกปิดอย่างมิดชิด

ส่วนผู้บริโภค ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เลือกซื้ออาหารจากร้านที่มีการปกปิดอาหาร เช่น ใส่ตู้กระจก หม้อที่มี ฝาปิด เป็นต้น

  2. ช่วงที่มีการเตือนเรื่องปริมาณฝุ่นที่แน่นหนา ควรหลีกเลี่ยงการนั่งทานอาหารที่ร้านข้างทาง เป็นซื้ออาหารกลับมาทานที่บ้านจะดีกว่า

  3. ควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสฝุ่นละอองต่างๆ และเข้าสู่ร่างกายจากการหยิบจับอาหารผ่านมือได้

 

สำหรับตำรวจจราจร พนักงานทำความสะอาดถนน คนขับรถรับจ้างประเภทรถตุ๊กๆและจักรยานยนต์ เป็นผู้ที่สัมผัสฝุ่นละอองตลอดเวลา จึงต้องรู้จักป้องกันตนเองให้มากขึ้นในช่วงนี้ โดยสวมหน้ากากอนามัยที่เหมาะสมและหลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ตอนปฏิบัติงานเพื่อสุขอนามัยที่ดี ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการหายใจติดขัดแน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ ควรให้รีบปรึกษาแพทย์หรือไปสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook