ทำไมเราถึง “จั๊กจี้” ตัวเองไม่ได้?
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราสัมผัสตัวเอง ถึงให้ความรู้สึกไม่เหมือนคนอื่นที่สัมผัสเรา นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เรารู้สึกสบายมากกว่าเมื่อมีคนมานวดให้เรา และเป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่สามารถจั๊กจี้ตัวเองได้
Rebecca Böhme นักประสาทวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Linköping ในประเทศสวีเดน ระบุว่า “เมื่อเราสัมผัสตัวเอง อวัยวะหลายส่วนของร่างกายเราลดกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ลง”
ในขณะเดียวกัน การสัมผัสจากคนอื่น เป็นการทำให้สมองของเรากระตุ้นประสาทสัมผัสของเรามากกว่า
การสัมผัสจากคนอื่นเปรียบเสมือนการสื่อสารกันระหว่างเรากับอีกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรียกร้องความสนใจ ให้การสนับสนุน หรือเป็นการแสดงความรัก ซึ่งแต่ละการสัมผัสมีความพิเศษประสาทสัมผัสของเราสามารถแยกแยะได้อย่างละเอียด ดังนั้นสมองของเราจึงอาจลดการให้ความสำคัญกับการสัมผัสจากตัวของเราเองลง
“แม้ว่าจะมีการสัมผัสจากคนอื่นในที่เดียวกัน ในลักษณะเหมือนกัน แต่สมองสามารถแยกแยะได้ละเอียดว่าแต่ละสัมผัสแตกต่างกัน หรือสัมผัสไหนที่สำคัญกว่ากัน โดยให้ความสำคัญกับการสัมผัสจากคนอื่นมากกว่าการสัมผัสจากตัวเอง”
สมอง กับการจี๊กจี้ตัวเอง
ในขณะเดียวกัน เมื่อสมองเป็นคนสั่งการว่าสัมผัสไหนที่สำคัญน้อย สำคัญมาก เมื่อสมองไม่ปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภช จะสามารถจั๊กจี้ตัวเองสำเร็จหรือไม่ จากรายงานการศึกษาหลายชิ้นพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาในด้านการทำงานของสมอง สามารถจั๊กจี้ตัวเองได้ เพราะสมองไม่สามารถแยกแยะความสำคัญของการสัมผัสในแต่ละครั้งได้ รวมไปถึงภาพหลอนต่างๆ ที่ผู้ป่วยได้เห็น ได้รับรู้ จนไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่คิดขึ้นมาเอง กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้ด้วย
แม้ว่าเราจะไม่สามารถจั๊กจี้ตัวเองได้ แต่เราสามารถได้รับการสัมผัสจากคนอื่นได้ และรู้สึกพิเศษมากกว่าการสัมผัสตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นจับมือ โอบไหล่ ลูบหัว อย่าลืมมอบสัมผัสอันแสนพิเศษให้กับคนที่คุณรักกันด้วยนะ