จริงหรือไม่? ยาที่มีส่วนผสมของ PPA เสี่ยง “เลือดออกในสมอง”

จริงหรือไม่? ยาที่มีส่วนผสมของ PPA เสี่ยง “เลือดออกในสมอง”

จริงหรือไม่? ยาที่มีส่วนผสมของ PPA เสี่ยง “เลือดออกในสมอง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ส่วนประกอบในยาแต่ละชนิดเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยหลายคนอาจมองข้าม แต่จริงๆ แล้วมีความสำคัญมาก เพราะในยารักษาโรคแต่ละชนิดอาจมีส่วนประกอบที่รักษาโรคเดียวกัน แต่มีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน จึงมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย

 

“เลือดออกในสมอง” อันตรายจากยา?

PPA หรือยาฟีนิลโปรปาโนลามีน เป็นหนึ่งในตัวยาที่ในอดีตผลในการลดอาการคัดจมูก สามารถใช้เป็นยาลดความอยากอาหารได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาลดความอ้วนที่ทั้งอยู่ในความควบคุมของแพทย์ และสามารถซื้อได้ที่ร้านขายยาในสหรัฐ แต่ต่อมามีรายงานอันตรายที่ทำให้เกิดเลือดออกในสมองเมื่อใช้ยานี้ จึงการทำงานวิจัยจริงจัง จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า อุบัติการณ์การเกิดเลือดออกในสมอง มีความสัมพันธ์กับการใช้ยา PPA ดังนั้นในเวลาต่อมาทางสำนักคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐจึงมีมติว่ายา PPA ไม่ปลอดภัยในการเป็นทั้งยาที่ใช้รักษาภายใต้การควบคุมของแพทย์ และยาที่ซื้อได้ผ่านร้านขายยาอีกต่อไป อีกทั้งยังมีการสั่งปรับสูตรยาต่างๆ ให้ทดแทนยา PPA ทั้งหมด

ยาในไทย มีส่วนผสมของยา PPA หรือไม่?

เมื่อสอบกว่าปีก่อน มียาอยู่บางชนิดที่มีส่วนผสมของยา PPA ได้แก่ ทิฟฟี่, ดีคอลเจน, นูต้า, นูต้าโคล, ทิพทอพ, ฟาโคเจน, โคลัยซาล และไดมีเท็ป ซึ่งส่วนใหญ่ที่รักษาอาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ฯลฯ แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่าผู้ผลิตยาหรือผู้นำเข้ายาได้แก้ไข และปรับสูตรยาในท้องตลาดให้ไร้สาร PPA ทั้งหมดแล้ว จึงทำให้ไม่มีตำรับยาที่มีส่วนผสมของยาฟีนิลโปรปาโนลามีนอยู่เลยในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 13 ปีแล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นยาตัวไหน รวมถึงรายชื่อยาตามด้านบน ก็ไม่มีส่วนผสมของยา PPA อย่างสิ้นเชิง โดย อย. ได้ดำเนินการ เพิกถอนทะเบียนตำรับแล้ว ซึ่งมีผลยกเลิกทะเบียนตำรับยาตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544

 

ดังนั้น ถึงแม้ว่ายา PPA จะมีผลข้างเคียงที่อันตรายอย่างอาการ “เลือดออกในสมอง” แต่ก็ขอให้เชื่อใจได้ว่าสำหรับยาในไทย ไม่มีส่วนผสมของยาตัวนี้แน่นอน แต่หากที่ใครจำเป็นต้องทานยาที่สั่งจากต่างประเทศ ขอให้ลองเช็กส่วนผสมข้างผลติภัณฑ์ให้ดีก่อนทาน หรือควรให้แพทย์เป็นผู้จัดยาให้โดยตรงจะดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook