“โรคคุดทะราด” โรคระบาดในอดีตจากละคร "ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง"

“โรคคุดทะราด” โรคระบาดในอดีตจากละคร "ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง"

“โรคคุดทะราด” โรคระบาดในอดีตจากละคร "ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ละครเรื่อง "ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง" กำลังเริ่มเป็นที่พูดถึงในหมู่คนดูละคร เพราะนอกจากจะเป็นละครย้อนยุคสมัยโบราณของไทยที่กำลังเป็นที่นิยมแล้ว ยังสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เพราะตัวละครสำคัญของเรื่องเป็นหมอยาโบราณนั่นเอง

โรคระบาดในอดีตที่ปรากฎอยู่ในละคร คือโรค “คุดทะราด” ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่า

 

โรคคุดทะราด คืออะไร?

  • โรคคุดทะราด (Yaws) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ Treponema (Treponematosis) ที่ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดต่อกันได้ง่ายจากการสัมผัส

 

การระบาดของโรคคุดทะราดในไทย

  • ในอดีตราว พ.ศ. 2533 เคยพบผู้ป่วยในไทยจำนวน 54 ราย อายุตั้งแต่ 2-79 ปี มากกว่า 50% เป็นผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539 พบการระบาดบ้างประปรายในบางปี และในตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นก็ไม่พบู้ป่วยโรคนี้อีกเลย

 

อาการของโรคคุดทะราด

  • ระยะแรก จะพบรอยของโรคบนผิวหนัง เป็นแผลแบบรอยย่นปูด มักพบที่หน้า และขา ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่อาจพบอาการแทรกซ้อน แผลอาจกลายเป็นตุ่มสีม่วงเหมือนผลราสเบอร์รี่ หรือตุ่มอาจแตกเป็นแผลเน่าเปื่อย โดยแผลเหล่านี้อาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
  • ระยะสอง อาจพบผื่นนูนกระจายทั่ว เป็นจุดด่างแบบเป็นเกล็ด เป็นระยะที่เกิดขึ้นสั้นๆ หลังการรักษาในระยะแรก อาจพบเห็นของเหลวตามรอยพับของผิว รอยแผลเริ่มมีหนังหนาคล้ายหนังคางคกบนฝ่ามือ และฝ่าเท้า และอาจเป็นแผลซ้ำซากที่เป็นๆ หายๆ เริ่มมีอาการเจ็บปวด และอาจทำให้พิการได้
  • ระยะที่สาม หรือระยะสุดท้าย จะไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค และรอยโรคจะเริ่มเห็นว่าผิวหนัง และกระดูกถูกทำลาย โดยเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลาหลายปี หรือหลังจากติดเชื้อ 5 ปี

ส่วนใหญ่โรคคุดทะราดไม่ได้อันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ถึงขั้นร่างกายผิดสัดส่วน และพิการได้

 

การแพร่เชื้อโรคคุดทะราด

  • สามารถแพร่เชื้อโรคได้โดยตรงจากการสัมผัสกับนํ้าเหลืองจากแผลของผู้ป่วยใน ระยะที่หนึ่ง และระยะที่สอง ส่วนการแพร่โรคทางอ้อม จะมาจากการปนเปื้อนเชื้อของเครื่องใช้ หรือวัสดุต่างๆ ซึ่งมีการทิ่ม ตํา หรือเจาะไปในผิวหนัง อาจเกิดจากการเกา หรือแมลงวันซึ่งมาเกาะบนแผลเปิดของผู้ป่วย

 

วิธีรักษาโรคคุดทะราด

  • แพทย์แผนปัจจุบันจะใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) สำหรับผู้ป่วย และผู้ที่สัมผัสกับแผล ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยฉีดยาเบนซาทีน เพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ขนาด 1.2 ล้านหน่วยเข้ากล้ามครั้งเดียว และเด็กอายุตํ่ากวา 10 ปี ใช้ขนาด 0.6 ล้านหน่วย

 

วิธีป้องกันโรคคุดทะราด

เนื่องจากเป็นโรคติดต่อในอดีตที่ไม่พบในปัจจุบันแล้ว จึงไม่น่ากลัวอะไร แต่วิธีป้องกันโรคคุดทะราดโดยทั่วไป ทำได้โดยการ

  • รักษาความสะอาดของตัวเราให้ดี ไม่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรก และระยะสองที่สามารถแพร่เชื้อโรคได้
  • ไม่ใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย
  • ต้องรีบเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยเร็ว เพื่อทั้งกำจัดเชื้อโรค และดูแลรักษาแผลให้หายด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook