"ไอเรื้อรัง" โดยไม่ทราบสาเหตุ เสี่ยงโรค "หอบหืด"

"ไอเรื้อรัง" โดยไม่ทราบสาเหตุ เสี่ยงโรค "หอบหืด"

"ไอเรื้อรัง" โดยไม่ทราบสาเหตุ เสี่ยงโรค "หอบหืด"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหอบหืดอาจไม่ใช่โรคที่แปลกใหม่สำหรับคุณ เนื่องจากเป็นโรคทั่วไปที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคหอบหืดไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเป็นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ หอบหืดจากการออกกำลังกาย หรือโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังเพียงอย่างเดียว (Cough Variant Asthma)  ซึ่งคุณจะมีอาการ ไอเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความด้านล่างนี้

 

โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียวคืออะไร

โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังเพียงอย่างเดียว มีอาการหลักก็คือการไอแห้งๆ ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดชนิดนี้จะไม่มีอาการของโรคหอบหืดประเภทอื่น อย่างเช่นอาการหายใจถี่ๆ และมีเสียงวี้ดขณะหายใจ บางครั้ง โรคหอบหืดชนิดนี้จะมีอาการไอที่เกิดขึ้นนานถึง 6-8 สัปดาห์ การไออาจเกิดขึ้นกลางดึกจนทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมา หรือเกิดขึ้นตอนกลางวัน จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการไปจะรุนแรงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย หรือได้รับสิ่งกระตุ้นการเกิดหอบหืดหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น สปอร์เชื้อรา น้ำหอม หรือเมื่ออยู่ในสภาพอากาศเย็น โรคหอบหืดชนิดนี้เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ แต่มักเริ่มเป็นในวัยเด็ก

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว

สาเหตุของโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรัง ยังไม่ทราบอย่างชัดเจน แต่อาการไออาจเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยสูดเอาสารก่อภูมิแพ้ หรืออยู่ในสภาพอากาศที่เย็น อาการไอยังอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน หลังจากเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การไออาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (beta blockers) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กับอาการความดันโลหิต หัวใจล้มเหลว รวมถึงโรคต้อหิน และโรคทางตาอื่นๆ ผู้ป่วยบางรายที่แพ้ยาแอสไพรินอาจเกิดโรคหอบหืดชนิดนี้ได้

 

การวินิจฉัยโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว

ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจมีอาการไอเพียงอย่างเดียว และอาการไออาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ได้มากมาย อย่างเช่น ไข้หวัด การวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จะซักประวัติและจะใช้เครื่องมือในการฟังการหายใจ แต่วิธีนี้อาจยังไม่สามารถระบุโรคที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเอ็กซเรย์ทรวงอก จึงเป็นวิธีที่แนะนำร่วมกับการตรวจสภาพปอด (spirometry) โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือวัดปริมาณอากาศที่ผู้ป่วยหายใจออกมา (ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ และหายใจออก) รวมถึงวัดอัตราความเร็วของอากาศที่ออกจากปอด หากการตรวจสภาพปอดไม่สามารถยืนยันโรคหอบหืดชนิดนี้ได้ อาจมีการใช้สารเมธาคอไลน์ เพื่อทำให้ช่องทางเดินอากาศแคบลง ในระหว่างการตรวจ ผู้ป่วยจะสูดเอาเมธาคอไลน์เข้าออก ก่อนและหลังการตรวจสภาพปอดแบบ spirometry หลังการตรวจ แพทย์จะให้ยาขยายช่องทางเดินหายใจ เพื่อขจัดผลข้างเคียงของสารเมธาคอไลน์

 

การรักษาโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว

อาการไอจากโรคหอบหืดชนิดนี้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาพ่นแก้หอบหืด ซึ่งมีส่วนประกอบของอัลบูเทอรอล (albuterol) ไอพราโทรเพรียม (ipratropium) และสารสเตียรอยด์สำหรับสูดดม (inhaled steroids) อาการจะดีขึ้นภายใน 6-8 สัปดาห์ อาการไอเช่นนี้เป็นโรคหอบหืดชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะทางอาการ คือ ไอแห้งๆ แต่ผู้ป่วยก็อาจมีอาการหอบหืดอื่นๆ ด้วย ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการนี้ได้ แต่การรักษาจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook