“ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?

“ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?

“ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาเหตุของอาการท้องเสียมีอยู่มากมาย ทั้งการทานอาหารรสจัด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจจะแค่ถ่ายมากกว่าปกติเพราะทานอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายมากกว่าปกติก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเราต้องทานยาทุกครั้งที่มีอาการท้องเสีย โดยเฉพาะ “ยาฆ่าเชื้อ” หนำซ้ำ หากเราทานยาทุกครั้งที่ท้องเสียโดยไม่จำเป็น อาจส่งผลให้เราดื้อยาได้

 

สาเหตุของอาการท้องเสีย

  • ทานอาหารรสจัด

  • ทานอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรค

  • ทานอาหารที่มีฤทธิ์ระบาย หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายมากเกินไป

  • ทานยาฆ่าเชื้อบางชนิด

 

ถ่ายแบบไหน ถึงเรียกว่า “ท้องเสีย”

อาการท้องเสีย คือการถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือมีกากใยอาหารเพียงเล็กน้อย โดยหากมีอาการถ่ายในลักษณะนี้มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชั่วโมง สันนิษฐานได้ว่ากำลังมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น

 

“ท้องเสีย” แบบไหน หายได้เอง

หากมีอาการท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง ที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือรับประทานอาหารรสจัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หรือเกิดจากโรคบางชนิด ซึ่งส่วนใหญ่อาการท้องเสียจะหายได้เอง โดยการดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป

 

“ท้องเสีย” แบบไหน ต้องทานยาปฏิชีวนะ

หากผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด และมีไข้สูง หรือถ่ายเป็นน้ำซาวข้าว ควรกินยาฆ่าเชื้อ โดยได้รับจากแพทย์หลังเข้ารับการตรวจยืนยันเป็นที่เรียบร้อย ว่าเป็นอาการท้องเสียจากการติดเชื้อจริงๆ จะทำให้เราได้รับการรักษาที่ถูกต้องมากกว่าการซื้อยาทานเอง

ส่วนกรณีที่มีอาการท้องเสียรุนแรง เช่น อุจจาระมีมูกปน กลิ่นเหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส และมีอาการท้องเสียนานกว่า 48 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ด่วน เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

เมื่อไรควรทาน “ยาหยุดถ่าย”?

หลายคนชอบทานยาหยุดถ่าย (เช่น ยาคาร์บอน) เพราะคิดว่าทานแล้วจะช่วยให้หยุดอาการท้องเสียได้ แต่หากเป็นอาการท้องเสียจากเชื้อโรค การทานยาหยุดถ่ายจะทำให้เชื้อโรคถูกกำจัดออกจากร่างกายได้น้อยลง (อาการท้องเสีย เป็นกระบวนการทางร่างกายอย่างหนึ่ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่เราทานอาหารปะปนเชื้อโรคเข้ามาในร่างกาย) นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีอาการท้องอืด และถ่ายอุจจาระนานขึ้นได้ แต่หากจำเป็นต้องทานจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานทุกครั้ง

>> ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook