8 วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”

8 วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”

8 วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร้านอาหารข้างทาง เป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่เรือนไทยกันมาอย่างช้านาน และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยไปแล้วก็ว่าได้ เพราะนักท่องเที่ยวหลายร้อยลายพันคนติดใจกับรสชาติอาหารที่จัดจ้านถูกปาก และยังราคาเป็นมิตรของร้านอาหารเหล่านี้กันถ้วนหน้า แต่ใช่ว่าร้านอาหารข้างทางทุกร้านจะดีต่อท้องไส้ของเราทุกร้านเสมอไป เลือกไม่ดีอาจทำให้เราท้องเสีย หรือหนักหน่อยก็อาจเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้

ดังนั้น ก่อนเลือกทานอาหารจากร้านอาหารข้างทาง ควรสังเกตให้ดีว่าร้านอาหารเหล่านี้ “ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน” ด้านความสะอาดที่ควรจะมีหรือไม่

 

วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”

  1. ร้านอาหารเหล่านั้นควรจำหน่ายอาหารที่ปรุงสดใหม่ หากมีการเตรียมวัตถุดิบล่วงหน้า ควรเป็นวัตถุดิบที่สามารถเก็บเอาไว้ได้ เช่น ผัก ผลไม้สดที่ยังไม่ผ่านความร้อน

  2. หากมีการเตรียมอาหารเอาไว้ล่วงหน้า วัตถุดิบเหล่านั้นไม่ควรผ่านความร้อนมาก่อน เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อหมู ลูกชิ้น เกี๊ยว ฯลฯ ไม่ควรลวกทิ้งไว้ในชามเป็นเวลานาน ควรทำให้สุกเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟเท่านั้น

  3. ร้านอาหารที่จำหน่ายกับข้าวทำสำเร็จพร้อมทาน ควรมีการอุ่นให้ร้อนทุกๆ 2-4 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียเจริญเติบโตได้

  4. สถานที่จำหน่ายอาหารสะอาดสะอ้าน ไม่พบสิ่งปฏิกูล และสัตว์ก่อโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็ไม่ควรนำมาอยู่ในบริเวณที่จำหน่ายอาหาร

  5. ผู้ปรุงอาหารควรใส่ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม รวมถึงเล็บต้องสั้น และสวมถุงมือ หรือใช้ภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อต้องหยิบจับอาหาร

  6. หากผู้ปรุง และผู้เสิร์ฟมีบาดแผลตามร่างกาย ควรทำแผลปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อยก่อนลงมือทำอาหาร หรือเสิร์ฟอาหาร

  7. อุปกรณ์ในการทำอาหาร รวมถึงจานชาม ช้อนส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ ต้องสะอาด ไม่มีคราบสกปรก ไม่มีกลิ่นเหม็น

  8. ภาชนะ อุปกรณ์ในการทำอาหาร และทานอาหาร ควรวางอยู่เหนือพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร

 

นอกจากนี้ ในช่วงอากาศร้อนจัด อาหารอาจบูดเน่า หรือเสียได้ง่ายกว่าเดิม หากเราซื้ออาหารกลับมาทานที่บ้าน แล้วยังไม่ทาน หรือทานไม่หมด ควรนำมาอุ่นให้เดือด ก่อนทิ้งไว้ให้หายร้อน แล้วนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บได้นาน 1-2 วัน หากสภาพของอาหารเปลี่ยนไป เช่น มีฟองอากาศ มีกลิ่นเหม็น สีเปลี่ยน เนื้อสัมผัสเปลี่ยน ไม่ควรนำมาทานต่อเด็ดขาด

 

>> เก็บอาหารใน "ตู้เย็น” จะอยู่ได้นานเท่าไร?

>> 5 วิธีสังเกตอาหารบูด เน่าเสีย แม้ว่าจะอยู่ในตู้เย็น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook