แพทย์เตือน! ผู้สูงอายุเสี่ยงไข้หวัดใหญ่-ปอดบวม หากรุนแรงอาจถึงชีวิต

แพทย์เตือน! ผู้สูงอายุเสี่ยงไข้หวัดใหญ่-ปอดบวม หากรุนแรงอาจถึงชีวิต

แพทย์เตือน! ผู้สูงอายุเสี่ยงไข้หวัดใหญ่-ปอดบวม หากรุนแรงอาจถึงชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เผยผู้สูงวัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโรคปอดบวมและไข้หวัดใหญ่ เพื่อสร้างเกราะป้องกันร่างกายก่อนเชื้อร้ายจะก่อโรครุนแรง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เชื้อนิวโมคอคคัส คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคน โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายสู่บุคคลอื่นได้เหมือนโรคไข้หวัด โดยการ ไอ สิ่งสำคัญที่เป็นตัวการในการทำให้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักมาจากมือ ดังนั้นการล้างมือบ่อยๆ จะเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง

 

อันตรายของเชื้อนิวโมคอคคัส

โรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวม เกี่ยวข้องกับเชื้อนิวโมคอคคัสเนื่องจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสซ้ำซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคนิวโมคอคคัสเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่

 

กลุ่มเสี่ยงโรคปอดบวม และไข้หวัดใหญ่

แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่อาจเสี่ยงเป็นโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส มีดังนี้

  1. อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี

  2. เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคปอดหรือโรคไต

  3. ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

  4. ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

  5. โรคมะเร็ง

  6. ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือไม่มีม้าม

  7. ใส่ชุดประสาทหูเทียม

  8. น้ำไขสันหลังรั่ว

  9. สูบบุหรี่

  10. โรคพิษสุราเรื้อรัง

เป็นต้น

 

อาการของโรคปอดบวม

สามารถสังเกตอาการของโรคปอดบวมได้ เช่น มีไข้ ไอ รู้สึกหนาวสั่น เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก

 

วิธีป้องกันโรคปอดบวม

  1. ล้างมือให้สะอาด

  2. หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด

  3. สวมหน้ากากอนามัย

  4. ปิดปาก และจมูกเวลาไอหรือจาม

  5. ควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ ของร่างกายเสื่อมถอยลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาว

 

ดังนั้นการเสริมภูมิคุ้มกันก่อนการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เสมือนการสร้างเกราะป้องกันให้กับร่างกายก่อนเชื้อร้ายจะก่อโรครุนแรง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook