อันตรายจากการเอา “เฝือก” ออกด้วยตัวเอง เสี่ยงพิการ-เสียชีวิต

อันตรายจากการเอา “เฝือก” ออกด้วยตัวเอง เสี่ยงพิการ-เสียชีวิต

อันตรายจากการเอา “เฝือก” ออกด้วยตัวเอง เสี่ยงพิการ-เสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครที่มีประสบการณ์กระดูกหัก หรือเปราะ อาจจะเคยใส่เฝือกเพื่อให้ร่างกายได้เชื่อมต่อกระดูกอย่างช้าๆ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ใครที่ใส่เฝือกอาจได้รับกำลังใจจากเพื่อนๆ โดยเขียนคำอวยพรให้หายไวๆ บนเฝือกกันอย่างสนุกสนาน แต่เมื่อถึงขั้นตอนในการถอดเฝือกออก มีบางคนที่รีบร้อนอยากถอดเฝือกเอง เพราะคิดว่ากระดูกหายดีแล้ว ก็น่าจะหาอะไรแข็งๆ มาทำให้เฝือกแตก หรือสามารถดึงเฝือกออกมาได้เอง

อันที่จริงแล้ว ความคิดแบบนี้ถือว่า “ผิด” มาก เพราะอะไร เรามาดูคำตอบกัน

 

อันตรายจากการถอดเฝือกด้วยตัวเอง

ผู้ป่วยอาจพยายามใช้ของมีคมในการทำลาย หรือแยงเข้าไปในระหว่างผิวหนังกับเฝือก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะตัดเข้าเนื้อของตัวเอง จนทำให้เกิดบาดแผล หรืออวัยวะขาดได้

>> ภาพสยองหน้าบ้าน หนุ่มขาหักแกะเฝือกเอง ข้อเท้าหวิดขาด-เลือดไหลไม่หยุดจนตาย



วิธีถอดเฝือกที่ถูกต้อง

แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเฝือก ถอดเฝือกโดยเฉพาะ อุปกรณ์นี้จะเป็นเลื่อยแรงสั่น เมื่อนำใบเลื่อยไปโดนบริเวณเฝือก แรงสั่นจะทำให้เฝือกแตก และเมื่อเลื่อยสั่นลึกลงไปถึงวัสดุบุรองเฝือกด้านใน ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงความร้อนจากการเสียดสี แต่จะไม่ได้รับอันตรายใดๆ หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นขณะแพทย์กำลังนำเฝือกออก ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีถอดเฝือกต่อไป

ดังนั้นจะเห็นว่า การถอดเฝือกอย่างปลอดภัยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีเครื่องมือที่ไว้ใช้ถอดเฝือกโดยเฉพาะ จึงควรให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ และทีมผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติ เมื่อต้องเข้าเฝือก

  1. ไม่ควรใช้สิ่งของแยง หรือทิ่มเข้าไปในเฝือก หรือระหว่างเฝือกกับผิวหนัง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณนั้นเกร็งจนผิดรูป รวมถึงเกิดแผลบาดเจ็บจากสิ่งของเหล่านั้นได้

  2. อย่าให้เฝือกโดนน้ำ หากเปียกน้ำควรรีบทำให้แห้งด้วยการเช็ด หรือเป่าด้วยพัดลม และวางบนสิ่งของนิ่มๆ เช่น หมอน

  3. ระวังอย่าให้เฝือกกระทบกับสิ่งต่างๆ จนแตก หัก หรือเสียรูปทรง เพราะอาจส่งผลต่อกระดูกที่ดามอยู่ได้

  4. หากเฝือกบวมจนแน่น หรือหลวมมากเกินไป ควรรีบพบแพทย์

  5. ออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ที่ใส่เฝือกอยู่เป็นประจำ เช่น หากใส่เฝือกที่ขา อาจลองระดิกนิ้วเท้าขึ้นลง ยกขาขึ้นลง เป็นต้น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบเนื่องจากไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นนานเกินไป

  6. ควรยกอวัยวะส่วนที่ใส่เฝือกอยู่ในสูงกว่าระดับหัวใจเป็นประจำ เพื่อลดอาการบวม

  7. หากมีการใส่เฝือกเป็นเวลานานมากกว่า 3 สัปดาห์ เซลล์ผิวหนังอาจมีการผลัดออกมาสะสมพอกหนา จนทำให้เกิดอาการคันได้ รวมถึงเกิดแผลได้ง่ายด้วย ดังนั้นเมื่อถอดเฝือกแล้ว อาจต้องดูแลเป็นพิเศษด้วยการอาบน้ำอุ่น (ไม่อุ่นจัด) ไม่ขัดถูผิวบริเวณนั้นแรงเกินไป ไม่โกนขนบริเวณที่เคยใส่เฝือกมาก่อน และทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook