ยาป้าย-ยาสลบเคลือบบัตร มีจริงหรือ?

ยาป้าย-ยาสลบเคลือบบัตร มีจริงหรือ?

ยาป้าย-ยาสลบเคลือบบัตร มีจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยังคงมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ว่ามีมิจฉาชีพบางราย ทำร้ายร่างกาย ปล้นทรัพย์ หรือกระทำชำเราเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ด้วยการ “ป้ายยา” หรือยื่น “นามบัตรเคลือบยา” ให้กับเหยื่อ เมื่อเหยื่อได้สัมผัสกับตัวยาดังกล่าว จะทำให้มึนงง ไม่ได้สติ จนอาจถึงหมดสติ จำอะไรไม่ได้ จนทำให้เหยื่อเสียท่าให้โจรเหล่านี้ไปมากมาย

แต่อันที่จริงแล้ว ยาป้าย และนามบัตรเคลือบยาเหล่านี้ มีอยู่จริงหรือไม่?

 

ยาป้าย นามบัตรเคลือบยา คือยาอะไร?

ตามข้อมูลที่แชร์กันในโลกอินเตอร์เน็ต มียาที่พูดถึงอยู่หลายชนิดที่อาจต้องสงสัยว่าเป็นยาป้าย หรือยาที่เคลือบอยู่บนบัตรที่กำลังพูดถึงกันอยู่ หนึ่งในนั้นคือยา Burundanga ซึ่งกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกมาเปิดเผยว่า ยา Burundanga มีชื่อสามัญว่า Scopolamine หรือ Hyoscine มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ในลักษณะต่างๆ กันตามรูปแบบของยา เช่น ใช้ในรูปแบบยาฉีดใช้การผ่าตัด เพื่อลดการหลั่งน้ำลายและสารหลั่งจากทางเดินหายใจ ใช้ในรูปแบบยากิน เพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวน และใช้ป้องกันอาการเมารถเมาเรือ ใช้ในรูปแบบแผ่นแปะใช้เพื่อป้องกันอาการเมารถเมาเรือเช่นกัน ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ไม่มีกลิ่น

อย่างไรก็ตาม ยาป้าย และนามบัตรเคลือบยา ไม่มีอยู่จริง เพราะหากมีการใช้ยาสลบเป็นยาป้าย หรือเป็นยาเคลือบนามบัตรจริง เหยื่อจะต้องสัมผัสหรือสูดดมยาสลบเป็นเวลานานพอสมควร ยาจึงจะเริ่มออกฤทธิ์ ซึ่งระยะเวลาที่เหยื่อสัมผัสกับนามบัตรนั้นสั้นเกินกว่าที่จะทำให้เกิดการออกฤทธิ์ได้

>> มีจริงหรือ? “ยาป้าย” อาวุธร้ายของมิจฉาชีพ

 

ยาสลบจากมิจฉาชีพ มีจริงหรือไม่?

โชคร้ายที่ยังมีมิจฉาชีพบางกลุ่มที่นำยานอนหลับมาผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มให้เหยื่อกิน เพื่อปลดทรัพย์หรือทำร้ายร่างกาย เช่น ยาเสียสาว หรือ จีเอชบี (GHB หรือ Gamma-hydroxybutyrate ที่เมื่อใช้ยานี้แล้วทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกสบาย เกิดภาวะคล้ายผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จึงทำให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นเราจึงไม่ควรรับอาหารหรือเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในสถานบันเทิงหรือที่เที่ยวกลางคืน ควรเลือกซื้อเครื่องดื่มที่ยังอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท ยังไม่เคยถูกเปิด เพื่อป้องกันการลักลอบใส่สารต่างๆ หรือยานอนหลับลงไป

>> “ยาเสียสาว” คืออะไร พร้อมวิธีเอาตัวรอดเมื่อโดนมอมยา

>> อันตราย! GHB ยาเสียสาว คืออะไร? หลีกเลี่ยงอย่างไร?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook