เตือนภัย! กินแกงส้มใส่ “ออดิบ” แต่เจอพิษจาก “บอนโหรา” แทน

เตือนภัย! กินแกงส้มใส่ “ออดิบ” แต่เจอพิษจาก “บอนโหรา” แทน

เตือนภัย! กินแกงส้มใส่ “ออดิบ” แต่เจอพิษจาก “บอนโหรา” แทน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เผยอันตรายจากการกินอาหารเมนู “แกงส้ม” ที่ใส่ผักพื้นบ้านอย่าง “ออดิบ” ที่แม่ค้าหรือผู้ขายไม่ทันระวัง เข้าใจผิดโดยใช้ “บอนโหรา” ที่มีพิษมาทำอาหารแทน ทำให้ผู้ที่กินเข้าไปทรมานหลังโดนพิษจากบอนโหราเต็มๆ

โดยเหตุการณ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของเฟซบุค Suttanuch Liangprasit เล่าว่า เธอสั่งแกงส้มมาจากร้านแห่งหนึ่ง เป็นแกงส้มใส่ “ออดิบ” แต่เมื่อกินเข้าไปกลับมีอาการแสบร้อนในปาก ลามไปถึงคอหลังกลืนลงไป มีน้ำลายเหนียวข้นเต็มปาก เมื่อสอบถามไปที่แม่ค้าได้คำตอบว่า มีผู้ที่กินแล้วมีอาการคล้ายๆ กันก่อนหน้านี้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุใด เมื่อเธอตัดสินใจนำส่วนที่คิดว่าเป็นออดิบไปที่โรงพยาบาล และตรวจอาการเพิ่มเติม พบว่าเธอโดนพิษของ “บอนโหรา” จึงรีบรักษาโดยทันที

ออดิบ VS บอนโหรา

ออดิบ ภาคใต้ เรียก โชน ออดิบ ออกดิบ ภาคกลาง เรียก คูน ภาคเหนือ เรียก กระดาดขาว หรือตูน เป็นไม้ล้มลุกอยู่ในวงศ์ Araceae และอยู่ในสกุล Colocasia เช่นเดียวกับบอน เป็นผักชนิดหนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายบอน ชาวบ้านจะปลูกไว้กินริมรั้ว หรือข้างบ้าน ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำแฉะ นำมาทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน ส่วนมากจะใช้แกงส้ม และยำ

บอนโหรา ภาคใต้ เรียก โหรา หรือ เอาะลาย ภาคกลาง เรียก กระดาดดา ภาคเหนือ เรียก บึมปื้อ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายออดิบมาก แต่ไม่สามารถกินได้ เพราะมีพิษที่เรียกว่า Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ

 leafออดิบ กับบอนโหรา ลักษณะคล้ายกันมาก แต่ออดิบกินได้ บอนโหรากินไม่ได้ มีพิษ

 ข้อแตกต่างของออดิบ กับบอนโหรา

ออดิบ (กินได้)

  • ใบสีเขียวอ่อน มีขนาดเล็ก และบาง รูปร่างคล้ายลูกศร
  • ก้านใบสีขาวนวล
  • ก้านใบห่างริมขอบใบ
  • ลำต้นสีเขียวอ่อน มีแป้งเคลือบ

บอนโหรา (กินไม่ได้)

  • ใบสีเขียวเข้ม มีขนาดใหญ่ และหนา รูปร่างคล้ายตาลปัตร

  • ก้านใบสีเขียวเข้ม

  • ก้านใบติดริมขอบใบ

  • ลำต้นสีเขียวเข้ม

อาการหลังรับประทานบอนโหราที่มีพิษ

  • หากสัมผัสจะทำให้เกิดการระคาย เคือง เป็น ผื่น คัน ผิวหนังบวมแดง ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะอักเสบบวมและพองเป็นตุ่มน้ำใส

  • หากเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้

  • หากรับประทาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร

  • หากรับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในปากและลำคอ ทางเดินอาหารอักเสบ คันปาก คันคอ แสบร้อน เพดานบวมพองเป็นตุ่มน้ำใส อาการอาจรุนแรงจนกระทั่งกลืนอาหารไม่ได้ พูดลำบาก ไม่มีเสียง และอาจทำให้หายใจลำบากได้

วิธีการรักษา หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเจอพิษบอนโหรา

  • หากสัมผัสน้ำยาง ให้ล้างออกโดยใช้น้ำสบู่ชะล้างหลายๆ ครั้ง แล้วนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

  • หากน้ำยางเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆครั้ง อาจหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ แล้วนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

  • หากรับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง ให้ล้างปาก โดยการดื่มน้ำมากๆ ดื่มนมเย็น ไอศกรีม ให้รับประทานอาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม และโจ๊ก

  • อมและดื่มสารละลาย Aluminium magnesium hydroxide (ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร) 30 มล. ทุก 2 ชั่วโมง

  • งดรับประทานอาหารรสจัด จนอาการทุเลาลง

  • เฝ้าระวังการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน

  • ที่สำคัญ ไม่ควรทำให้อาเจียน เพราะจะทำให้สารพิษสัมผัสกับเยื่อบุปาก และลำคออีกครั้ง

  • บางกระแส มีการปฐมพยาบาลแบบอื่นๆ เช่น

    • บ้วนปากด้วยน้ำมะพร้าว หรือให้ดื่มน้ำส้มสายชูหมักของฝรั่งสักสองสามช้อนโต๊ะ (ไม่ใช่น้ำส้มสายชูกลั่นแบบไทย) เพราะความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูหมักจะลดการระคายเคืองจากผลึกรูปเข็มแหลมเล็กของโหราที่กระจายอยู่ตามคอ และหลอดอาหาร

    • บ้างก็บอกว่าให้รีบหาน้ำตาลทรายขาวหรือแดงมาอมอย่างด่วนที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาอาการก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลต่อไป

หากจำเป็นต้องกินอาหารที่ใส่ “ออดิบ” อาจจะลองกัดทานเพียงคำเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน แล้วรอดูอาการสักพัก หากไม่มีอาการปกติ สามารถรับประทานต่อได้อย่างสบายใจ แบบนี้จะปลอดภัยที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook