4 “โรคผิวหนัง” อันตรายที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมวิธีป้องกัน

4 “โรคผิวหนัง” อันตรายที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมวิธีป้องกัน

4 “โรคผิวหนัง” อันตรายที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความร้อนจากแสงแดดส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังได้ ดังนั้นจึงควรอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ทาครีมกันแดดเมื่อต้องออกนอกบ้าน และหากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์

โรคผิวหนังที่มากับแสงแดด

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคผิวหนังที่อาจมากับแสงแดด ได้แก่ 

  1. โรคผื่น คัน แดง เกิดจากความร้อนกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อในร่างกายขับเหงื่อออกมาอย่างรวดเร็ว เกิดการอุดตันบริเวณต่อมเหงื่อทำให้เกิด ผด ผื่น คัน มีผื่นแดงตามผิวหนัง 

  2. โรคติดเชื้ เช่นโรคกลาก มักเกิดในช่วงอากาศร้อน หรือใส่เสื้อผ้าอับชื้นเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดเชื้อตามร่างกายบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ขาหนีบ 

  3. โรคมะเร็งผิวหนัง สาเหตุสำคัญเกิดจากการถูกแสงแดดมากโดยเฉพาะผู้ที่มีผิวขาวจะไวต่อการไหม้จากแสงแดดได้ง่าย การได้รับแสงเอกซเรย์ในปริมาณสูงเกิดแผลเป็นเรื้อรังจากรอยไหม้ ได้รับสารหนูหรือสารก่อมะเร็งในปริมาณสูงและผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง การดูแลตนเองควรหลีกเลี่ยงแสงแดด หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปกติให้รีบพบแพทย์ ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม 

  4. โรคแพ้แสงแดด เป็นโรคที่เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการตากแดด สาเหตุของโรคยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าเกิดจากการกระตุ้นด้วยแสงแดด ทำให้มีผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณที่ถูกแสงแดดเกิดการแพ้รุนแรงและเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีอาการมากจะเกิดผื่นนูน คันทั้งตัว อาจอักเสบมีน้ำเหลืองไหลและคันมากโดนแสงแดดไม่ได้จึงไม่สามารถประกอบอาชีพหรือใช้ชีวิตตามปกติที่ต้องโดนแสงแดด

 

วิธีดูแลผิวพรรณเพื่อหลีกเลี่ยงโรคจากแสงแดด

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนประชาชนต้องพบเจอกับโรคผิวหนังที่อาจมากับแสงแดด ดังนั้นควรดูแลสุขภาพผิวพรรณเพื่อหลีกเลี่ยงโรคผิวหนัง ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดและสถานที่ที่มีอากาศร้อนอบอ้าว หากจำเป็นควรป้องกันด้วยการกางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง ใส่เสื้อแขนยาวหรืออยู่ในที่มีอากาศเย็น ถ่ายเทได้สะดวก เช่นห้องแอร์หรือสวนสาธารณะที่ร่มรื่น

  2. อาบน้ำชำระร่างกายบ่อยๆ หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำถูตัวทุกครั้งที่รู้สึกร้อน

  3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  4. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

  5. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด

  6. พักผ่อนให้เพียงพอ

  7. ทาครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิวอย่างสม่ำเสมอ และใช้ครีมบำรุงผิว

  8. หลีกเลี่ยงสถานที่มีมลพิษ หากต้องสัมผัสสารเคมีที่ระคายเคืองควรป้องกัน เช่น ใส่ถุงมือ รองเท้าบู๊ท

  9. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่

  10. ที่สำคัญหมั่นสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง เช่น สีผิวคล้ำ หนา ขรุขระมากขึ้น กดผิวแล้วเจ็บผิดปกติ หรือมีอาการชาที่ผิวให้รีบปรึกษาแพทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook