ทำความรู้จัก “โรคแพนิค” โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง

ทำความรู้จัก “โรคแพนิค” โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง

ทำความรู้จัก “โรคแพนิค” โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคแพนิค (Panic Disoder) คือภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง โดยเป็นโรคที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากยังไม่มีชื่อโรคในภาษาไทย

อาการของผู้ป่วยโรคแพนิค

  1. จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน หรือหายไม่เต็มอิ่ม

  2. ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วน

  3. ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย โดยที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติ หรือเป็นบ้า

  4. หลังจากอาการแพนิคหาย ผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยาก แต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง โดยขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด

 

สาเหตุของการเกิดโรคแพนิค

  1. เกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น สมองมีปัญหาในการทำงานส่วนควบคุมความกลัว หรือความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และกรรมพันธุ์

  2. เกิดจากการเผชิญความวิตกกังวล ในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง เช่น ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง

 

วิธีการรักษาโรคแพนิค

  1. รักษาด้วยยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดอาการ โดยเป็นยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยากล่อมประสาท

  2. รักษาด้วยยาป้องกัน ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผล เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย

  3. รักษาทางใจ ด้วยการให้ความรู้และทำบำบัดควบคู่ เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิค

 

วิธีรับมือกับโรคแพนิค

  1. ให้กำลังใจพูดคุยกับตัวเองในแง่ดี บอกตัวเองให้รู้สึกสงบสุขและมั่นใจเข้าไว้

  2. หมั่นบันทึกและเขียนสิ่งต่างๆ เพื่อรู้เท่าทันความคิดและความรู้สึกของตนเอง

  3. ฝึกสมาธิและผ่อนคลาย เช่น ยืดเหยียดร่างกาย หรือหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

  4. ดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  5. งดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

  6. เมื่อเกิดอาการควรพยายามตั้งสติ และพุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งหายใจให้ช้าลง เนื่องจากการหายใจเร็วจะทำให้อาการแพนิคกำเริบมากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook