วัดด่วน! “รอบเอวหนา” สัญญาณโรค “หัวใจ”

วัดด่วน! “รอบเอวหนา” สัญญาณโรค “หัวใจ”

วัดด่วน! “รอบเอวหนา” สัญญาณโรค “หัวใจ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากเอวหนาๆ ของเราจะบอกถึงความเสี่ยงของโรคอันตรายอย่าง โรคอ้วน หรือไขมันพอกตับแล้ว ยังสามารถบอกความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ด้วย

มากกว่า 10 ปีแล้วที่นักวิจัยมากมายยืนยันว่า ขนาดของเอวมีความสำคัญต่อร่างกายมากกว่าขนาดต้นแขน ต้นขา หรือสะโพก เพราะหากคุณเป็นหนึ่งในคนที่เป็นเจ้าของรูปร่างคล้าย “แอปเปิ้ล” แสดงว่าคุณอาจเสี่ยงโรคอันตรายหลายอย่าง ทั้งโรคอ้วน ไขมันพอกตับ ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันในเลือดสูง

Dr. Osama Hamdy แพทย์อำนวยการคลินิคปัญหาน้ำหนัก ที่ Joslin Diabetes Center ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า “เมื่อเอวของคุณขยายใหญ่ขึ้น ความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย” ซึ่งเป็นส่วนของไขมันที่ไม่เหมือนกับการวัดไขมันบริเวณต้นขา หรือสะโพก

 

วิธีวัดเอว หาความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด

วิธีวัดเอวที่ถูกต้อง จะต้องวัดทั้งเอว และวัดอัตราส่วนของเอวถึงสะโพก การวัดเอว คือ หายใจออกให้สุดท้อง พันสายวัดรอบเอวโดยไม่สวมเสื้อผ้า บริเวณเหนือกระดูกสะโพกที่พบได้ใกล้ๆ เอวทั้งด้านขวา และด้านซ้าย รีบวัดค่าเอวก่อนที่จะหายใจเข้า

ส่วนการวัดอัตราส่วนของเอวถึงสะโพก ต้องวัดขนาดของสะโพกก่อน โดยพันสายวัดบริเวณที่สูงที่สุด หนาที่สุดของสะโพก แล้วนำค่าที่ได้มาหารกับขนาดของเอวที่วัดไปก่อนหน้านี้

 

ขนาดเอวที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด

ผู้หญิง ที่มีขนาดเอวมากกว่า 35 นิ้วขึ้นไป และอัตราส่วนของเอวถึงสะโพก มากกว่า 0.9 ขึ้นไป

ผู้ชาย ที่มีขนาดเอวมากกว่า 40 นิ้วขึ้นไป และอัตราส่วนของเอวถึงสะโพก มากกว่า 1.0 ขึ้นไป

 

วิธีลดเอวให้ได้ผล

หากคุณลดขนาดของเอวได้ นั่นหมายถึง คุณช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ด้วย

  1. ลดน้ำตาล สาเหตุหลักของเอวหนาๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากไขมัน (fat) อย่างที่เข้าใจกัน แต่มาจากน้ำตาล (sugar) ที่อยู่ในอาหารอร่อยต่างๆ เช่น ขนมหวาน เบเกอรี่ เครื่องดื่ม ไอศกรีม น้ำกระป๋อง และอื่นๆ

  2. แป้งขาว นอกจากน้ำตาลแล้ว แป้งก็เป็นอาหารที่อยู่ในตระกูลคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกัน จำง่ายๆ ว่า เป็นอาหารที่ขึ้นต้นด้วย P และ B เช่น Pizza (พิซซ่า) Pasta (พาสต้า) Bread (ขนมปัง) เป็นต้น

  3. อาหารที่มีแป้งเยอะ ไม่ใช่แค่ข้าว และอาหารประเภทเส้นที่มีแป้งเยอะ เพราะยังมีผักอย่าง มันฝรั่ง ข้าวโพด เผือก และอื่นๆ ที่มีแป้งด้วย อาหารเหล่านี้ควรลดการทานลง

  4. จำกัดเวลากินอาหาร ลองกินอาหารให้เป็นเวลา โดยกินอาหารได้ตั้งแต่เวลา 8.00-14.00 น. แล้วหยุดกิน จากนั้นกินต่อได้อีกทีในเวลาเช้าของวันรุ่งขึ้น (งดอาหาร 14-16 ชั่วโมง) ระหว่างสามารถกินอาหารที่ไม่ให้พลังงานสูงได้ เช่น กาแฟดำ (ไม่ใส่น้ำตาล) หรือผักผลไม้ที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นแป้ง ทำแบบนี้เพียง 3 วันต่อสัปดาห์ หรืออาจจำกัดเวลาในการกินอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของตัวเอง โดยเน้นการกินอาหารเย็นน้อยลง ไม่กินมื้อดึก และไม่ขาดอาหารเช้า เป็นต้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook