10 โรคร้าย จากพฤติกรรม “ติดหวาน” ที่ต้องรู้

10 โรคร้าย จากพฤติกรรม “ติดหวาน” ที่ต้องรู้

10 โรคร้าย จากพฤติกรรม “ติดหวาน” ที่ต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฮันนี่โทสต์หวานฉ่ำ ชาไข่มุกเย็นๆ หวานชื่นใจ หรือแม้แต่ก๋วยเตี๋ยวที่เทน้ำตาลลงไปจนหวานเจี๊ยบ พฤติกรรมการกินแบบติดหวานเหล่านี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยนี้ ทว่าเมื่อระดับน้ำตาลสูงเกินไป จะส่งผลให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์เกิดภาวะต้านอินซูลิน และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆ มากมาย มาเช็ค 10 โรคร้ายที่ควรห่างไกลเมื่อรับประทานหวานมากเกินไปกันเถอะ

  1. โรคเบาหวาน

    ภาวะต้านอินซูลินที่รุนแรง จะทำให้ตับอ่อนไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้น หรือสวิงขึ้นลง จะทำให้คุณเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด
  1. โรคหัวใจ

    อาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะน้ำตาลมีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว กลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด

  2. ไขมันพอกตับ

    เมื่อตับสังเคราะห์ฟรักโทสให้กลายเป็นไขมันแล้ว ก็จะนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ

  3. ไขมันในเลือดสูง

    เมื่อกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมากๆ จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ขึ้นในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น

  4. โรคอ้วน

    ความหวานจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม คุณจะรู้สึกว่า กินเท่าไรก็ไม่พอเสียที และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดายโดยไม่รู้ตัว

  5. ความดันโลหิตสูง

    น้ำตาลทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีน และกรดยูริกสูง ซึ่งต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น

  6. ไมเกรน

    น้ำตาล และของหวานต่างๆ เป็นหนึ่งในอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน

  7. ฟันผุ

    น้ำตาลนั้นย่อยง่าย แบคทีเรียในช่องปากจึงสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุของปัญหาในช่องปากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุ เคลือบฟันกัดกร่อน โรคเหงือก และกลิ่นปาก

  8. มะเร็ง

    อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ใช้ควบคุมการเจริญเติบโต และการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็ง การเพิ่มขึ้นของอินซูลิน และระดับอินซูลินที่ไม่คงที่ ก็อาจทำให้มีเซลล์มะเร็งเติบโตอยู่ในร่างกายของคุณได้

  9. โรคกระดูกเปราะ

    น้ำตาลสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำเกิดความไม่สมดุลในเลือด เมื่อเลือดมีความเป็นกรดมากขึ้น ร่างกายจึงต้องปรับสมดุลโดยการดึงแร่ธาตุต่างๆ ที่สะสมอยู่ในกระดูกมาใช้แทน


ความจริงแล้ว น้ำตาลก็เป็นเหมือนยาเสพติดชนิดหนึ่ง เพราะสารให้ความหวานจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งโดพามีน หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้เกิดอาการเสพติด และรู้สึกอยากกินของหวานอยู่ตลอด แม้ว่าการกินของหวานจะทำให้คุณรู้สึกมีความสุข แต่การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆได้เช่นกัน ดังนั้นมาพยายามรับประทานอาหารที่มีความหวานหรือขนมหวานให้น้อยลงกันเถอะ เพื่อสุขภาพที่ดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook