มะเร็งเต้านม กับสาเหตุของโรคที่คร่าชีวิตชาวไทยจำนวนไม่น้อยทุกปี

9 สาเหตุ “มะเร็งเต้านม” โรคที่คร่าชีวิตชาวไทยจำนวนไม่น้อยทุกปี

9 สาเหตุ “มะเร็งเต้านม” โรคที่คร่าชีวิตชาวไทยจำนวนไม่น้อยทุกปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“มะเร็งเต้านม” เป็นหนึ่งในมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี แต่นอกจากผู้หญิงแล้ว ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วย แม้ว่าจะเป็นจำนวนน้อย แต่หากมีความเสี่ยง ก็ควรต้องตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อรีบรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่จะเพิ่มโอกาสในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น

สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างชัดเจน แต่สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงได้จำนวนหนึ่ง ดังนี้

  1. อายุมากกว่า 45-55 ปีขึ้นไป

  2. มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมที่เต้านมข้างหนึ่ง มีความเสี่ยงว่าจะเป็นมะเร็งที่เต้านมอีกข้างด้วย

  3. สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมารดา พี่สาว หรือลูกสาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุยังน้อย

  4. มีประวัติเคยผ่าเต้านม จากเหตุความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีความผิดปกติของเซลล์ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง

  5. ตรวจพบยีนส์มีความผิดปกติจากการตรวจเลือด (ตรวจพิเศษเฉพาะผู้หญิงที่มีความเสี่ยงจากมีมะเร็งทางพันธุกรรม) ที่เรียกว่า BRCA 1 และ BRCA 2 หากพบความผิดปกติของยีนส์แบบนี้ จะหมายถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในสตรีที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน

  6. ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีรายงานพบว่า การใช้ฮอร์โมนที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้เล็กน้อย หากสตรีวัยทองต้องเพิ่มเอสโตรเจน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

  7. มีบุตรคนแรกในอายุมาก (หลังอายุ 30 ปี) มีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่มีบุตรคนแรกตอนอายุน้อยกว่า 30 ปี

  8. ผลของการเข้ารับการฉายรังสีก่อนอายุ 30 ปี โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

  9. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมในสตรี 

เราสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้ง่ายๆ ด้วยการตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม แต่เราก็สามารถตรวจหาความผิดปกติของเต้านมได้ง่ายๆ ด้วยการสังเกตผิวหนังรอบเต้านมว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ผิวเรียบเนียนตามปกติหรือมีความขรุขระ บีบหน้าอกแล้วมีอาการเจ็บหรือไม่ มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook