นั่งแชทระหว่างปลดทุกข์ ระวัง! ริดสีดวงทวารถามหา

นั่งแชทระหว่างปลดทุกข์ ระวัง! ริดสีดวงทวารถามหา

นั่งแชทระหว่างปลดทุกข์ ระวัง! ริดสีดวงทวารถามหา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หยิบมือถือไปนั่งเล่นเกม ดูวิดีโอ แชทมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งอ่านหนังสือขณะกำลังปลดทุกข์ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารโดยไม่รู้ตัว Sanook! Health จะมาบอกถึงสาเหตุ และวิธีง่ายๆ ที่จะหลีกหนีจากโรคนี้กันค่ะ


ริดสีดวงทวาร คืออะไร?

คือการมีติ่งเนื้อยื่นออกมารอบๆ ปากทวาร ทำให้รู้สึกปวด แสบ ระบม จนทำให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้น เนื่องจากเจ็บปวดมากเมื่อนั่ง แล้วก้นสัมผัสกับติ่งนั้น

ริดสีดวงทวาร เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร?

เกิดจากท้องผูกบ่อยๆ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา เพราะอาหารการกินไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำน้อย ทานผัก ผลไม้ และอาหารที่กากใยน้อย และการนั่งเบ่ง หรือนั่งบนโถสุขภัณฑ์นานๆ ก็ทำให้เกิดแรงดันที่ปากทวารหนักเพิ่มขึ้นด้วย

ริดสีดวงทวาร แบ่งเป็นกี่ชนิด

1. แบบภายนอก คือมีติ่งเนื้ออยู่ภายนอกปากทวารหนัก หากเป็นระยะเริ่มแรก ตอนถ่ายให้ลองขมิบก้น หรือใช้นิ้วช่วยดันติ่งนั้นกลับเข้าไป อาจหายเองได้

2. แบบภายใน คือมีติ่งก้อนเนื้อยื่นออกมาจากข้างใน ซึ่งอาจจะมีเลือดคั่ง และอักเสบปวดบวมหนักได้ ต้องพบแพทย์

อาการของโรคริดสีดวงทวาร

1. มีติ่งยื่นออกมาจากปากทวารหนัก

2. ถ่ายแล้วมีเลือดสดๆ ปะปนออกมา

3. ปวดระบมที่ติ่งเนื้อตรงปากทวารหนักมาก อาจจะเป็นเนื้อนิ่มๆ หรือเป็นก้อนแข็งๆ จากการคั่งตัวของเลือดก็ได้


วิธีบรรเทาอาการปวด

1. นั่งแช่ในน้ำอุ่น

2. นอนตะแคง หรือนอนเอาหมอนหนุนเอว ให้ทวารหนักอยู่สูงกว่าหัวใจ เพื่อลดอาการคั่งเลือด

3. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และไม่เบ่งในช่วงที่ปวดมาก

4. ไม่สวมเสื้อผ้าคับๆ เช่น ยีนส์คับๆ ชุดชั้นในที่คับ เพื่อป้องกันการระคายเคือง และอับชื้น

5. นั่งหนุนหมอน หรือที่รองนั่งนิ่มๆ เพื่อลดการเสียดสี


วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวาร

1. ดื่มน้ำให้มากขึ้น ประมาณ 2-3 ลิตร หรือให้ได้อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน สังเกตจากสีของปัสสาวะ

- หากปัสสาวะน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง และปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าดื่มน้ำไม่พอ

- หากปัสสาวะบ่อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง แสดงว่าดื่มน้ำมากเกินไป

2. กินอาหารที่มีกากใยอาหารมากเพียงพอต่อการขับถ่าย เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ต่างๆ ในช่วงแรกอาจดื่มน้ำมะขาม หรือทานลูกพรุน ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่ายได้

3. ดื่มนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้ดี

4. ออกกำลังกาย หากออกกำลังกาย 30-45 นาทีต่อวัน จะช่วยเรื่องการขับถ่ายให้เป็นปกติได้

5. พยายามขับถ่ายให้ตรงเวลา และควรเช็คตัวเองให้มีการขับถ่ายอย่างน้อยวันละครั้ง

6. ไม่เบ่งแรงขณะถ่าย ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการท้องผูก หากทานอาหารย่อยง่าย กากใยเหมาะสม จะไม่ต้องใช้แรงเบ่งมากเกินความจำเป็นเลย

7. หากเป็นไปได้ ให้เลือกใช้สุขภัณฑ์แบบนั่งมากกว่าแบบนั่งยองๆ จะขับถ่ายสะดวกกว่า

8. อย่านั่งนาน นั่งนานทำให้เกิดความดันที่ทวารหนักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดคั่งที่ปากทวารหนักได้ง่ายขึ้น


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง (20 ก.พ.55), prema.or.th 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook