“ความดันโลหิตสูง” กระทบสุขภาพอะไรบ้าง?
ความดันโลหิตสูง (Hypertension / High Blood Pressure) หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า ความดันสูง เป็นปัญหาสุขภาพที่รบกวนใจคนจำนวนมาก จะบอกว่าป่วยก็ไม่เชิง ไม่ป่วยก็ไม่ใช่ จนได้รับสมญานามว่า "ฆาตกรเงียบ"
เพราะว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีการแสดงอาการอะไรออกมาเลย แต่ถึงภายนอกจะดูปกติ ทว่า อวัยวะภายในร่างกายของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง กลับกำลังถูกทำลายลงอย่างช้าๆ
ความดันโลหิตสูง คืออะไร เกิดจากอะไร?
เมื่อผนังหลอดเลือดแดงของเราหนาขึ้น จากการที่มีไขมันที่ไม่ดีไปเกาะตัวอยู่ จะทำให้ช่องทางในการส่งเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ เล็กลง ทำให้ส่งเลือดได้น้อยลง และเพื่อให้ยังสามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ หัวใจของเราจึงต้องเพิ่มแรงดันในเลือดให้มากขึ้น เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านช่องเล็กๆ แคบๆ เหล่านี้ไปได้ แรงดันในการส่งเลือดที่เพิ่มขึ้นนี่เอง ที่เรียกกันว่า ความดันโลหิตสูง
สภาวะเช่นนี้ จะทำหัวใจของเราต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา และส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติไปอีกด้วย และเมื่อร่างกายแบกรับความผิดปกตินี้ไม่ไหวอีกแล้ว ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ ก็จะปรากฏตัวออกมาให้ได้เห็นกัน
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง คือ กรรมพันธุ์
หากในครอบครัวของคุณมีคนที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่ ก็มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจะเป็นความดันโลหิตสูงด้วย
นอกจากนี้ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงก็คือ สภาพแวดล้อม หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารรสจัด การอดนอน ความเครียด การดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ทั้งสิ้น
อะไรเป็นความเสียงที่มีผลช่วยเสริมทำให้ความดันโลหิตสูงได้บ้าง?
- มีคนในครอบครัวที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
- มีไขมันในเลือดสูง (คอเลสเตอรอลสูง)
- มีน้ำหนักตัวที่เกินกว่าค่ามาตรฐาน
- ชอบสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- นอนดึกเป็นประจำ
- ชอบทานอาหาร “รสเค็ม”
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจาก ความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงนั้น จะมีอาการแสดงที่ชัดเจน เช่น เลือดกำเดาไหล ตามองไม่เห็นชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนหัว หรือปวดหัวตุบๆ แต่เนื่องจากอาการเหล่านี้ เป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงเท่านั้น จึงทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่า คุณเป็นความดันโลหิตสูงจริง หรือไม่ จึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ใจ
ในขณะเดียวกัน ภาวะความดันโลหิตสูงในระดับไม่รุนแรง จะไม่มีการแสดงความผิดปกติที่เห็นได้ชัดออกมา แต่ว่า มันก็สามารถทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของคุณ เสื่อมสภาพลงได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่รู้ตัว และหากไม่ระวัง หรือไม่ได้มีการป้องกันที่เหมาะสม ก็อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่เสี่ยงต่อชีวิตของคุณได้
โดยโรคแทรกซ้อนร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากภาวะความดันโลหิตสูง คือ โรคในกลุ่ม NCDs หรือ non-communicable diseases หรือก็คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ แต่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารไขมันสูง พักผ่อนไม่เพียง ขาดการออกกำลังหาย เครียดอยู่เสมอ เป็นต้น
การเกิดโรคในกลุ่ม NCDs มักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อมีอาการแสดงออกมา ก็รุนแรงจนแก้ไขอะไรแทบไม่ได้แล้ว และอาการของโรคจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน จึงจัดได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังด้วยเช่นกัน
โดยตัวอย่างของโรค NCDs คือ
• โรคทางระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
• โรคหลอดเลือดสมอง
• โรคเบาหวาน
• โรคไตเรื้อรัง
• โรคอ้วนลงพุง
• โรคตับแข็ง
• โรคสมองเสื่อม
• ไตเสื่อมสมรรถภาพ
• อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง ให้หายขาด
- ต้องเริ่มทานยาความดันโลหิตสูงตามคำปรึกษาของแพทย์ เพราะ เมื่อออกกำลังกาย ความดันจะได้ไม่สูงขึ้นนั่นเอง
- คุมอาหาร ลดอาหารที่ให้พลังงานลง ทั้งคาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน โดยทานข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวสีดำพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องงอกสีนิล ข้าวกล้อง เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดโรคร้ายอันแสนน่ากลัวต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ใครที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ ก็ควรรีบหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองให้ดีๆ กันด้วยนะคะ ส่วนคนที่เป็นไปแล้ว ก็ต้องยิ่งระวังมากขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้อาการลุกลามหนักขึ้น สิ่งสำคัญคือ อย่าลืมไปตรวจสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้มีภาวะความดันโลหิตสูงซ่อนอยู่ จนทำให้ชีวิตต้องตกอยู่ในอันตรายโดยไม่รู้ตัว