แพทย์เผย! เด็กเล็กเสี่ยงเป็น "ต้อหิน" ได้

แพทย์เผย! เด็กเล็กเสี่ยงเป็น "ต้อหิน" ได้

แพทย์เผย! เด็กเล็กเสี่ยงเป็น "ต้อหิน" ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์เตือน เด็กเล็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดต้อหิน โดยอาจพบตั้งแต่แรกเกิด หรือมีภาวะแทรกซ้อน หากพบเด็กมีอาการผิดปกติทางสายตา ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบตรวจกับจักษุแพทย์โดยด่วน

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคต้อหินเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบว่าแม้แต่เด็กเล็กๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินได้เช่นกัน ซึ่งความร้ายแรงของโรคนี้คือ หากปล่อยไว้จนอาการลุกลามกระทั่งมองไม่เห็นแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดกับดวงตาของลูกหลาน และพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างทันท่วงที

ต้อหิน คืออะไร?

แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า ต้อหิน เป็นโรคที่สัมพันธ์กับความดันในลูกตาสูงขึ้น จนประสาทตาซึ่งเป็นตัวนำการมองเห็นไปสู่สมองถูกทำลาย ทำให้สูญเสียลานสายตา

 

อาการของโรคต้อหิน

ในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น การมองเห็นจะเริ่มเปลี่ยนไปทีละน้อย บางคนอาจไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คือการมองจะยังคงเห็นวัตถุข้างหน้าได้ชัดเจนดี แต่จะเริ่มมองวัตถุรอบๆ ไม่เห็น ลานสายตาแคบลงเหมือนมองผ่านกล้องส่องทางไกลอยู่ตลอดเวลา และจะแคบลงเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

 

ต้อหิน พบในเด็กเล็กได้

ต้อหินที่พบในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ สังเกตความผิดปกติได้ ดังนี้

  • ทารกมีอาการน้ำตาไหล ไม่สู้แสง

  • ตาดำโต เป็นฝ้าขาว หรืออาจมีตาดำเล็กกว่าปกติ

  • ตาแดงมาก คันตา

โดยอาการตาแดงมาก คันตา อาจเป็นต้อหินที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น การใช้ยาหยอดตาเป็นเวลานาน มีอาการผู้ปกครองซื้อยาหยอดตาใช้เองโดยไม่ปรึกษาจักษุแพทย์ และใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ความดันตาสูงขึ้น ขั้วประสาทตาถูกทำลายจนสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

 

ปานบนหน้า เสี่ยงต้อหินด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มีปานแดง ปานดำบนใบหน้า หากมีขนาดใหญ่และมีพื้นที่พาดผ่านดวงตา จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากเด็กที่มีปานแดง เส้นเลือดบนใบหน้าเกิดความผิดปกติมีเนื้องอกมาอุดตันทำให้น้ำหล่อเลี้ยงในดวงตาไม่สามารถระบายออกได้ ความดันในลูกตาจึงสูงขึ้น ส่วนปานดำเกิดจากมีเม็ดสีดำเข้ามาอยู่ที่ผิวหนัง อุดตันท่อระบายน้ำในตา จึงทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น

ทั้งนี้ เด็กที่เป็นปานดำพบว่าอาจเป็นต้อหินเมื่อเป็นผู้ใหญ่ แต่เด็กที่เป็นปานแดงอาจเป็นต้อหินได้ตั้งแต่ยังเล็ก อย่างไรก็ตามหากพบว่าเด็กมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น ไม่มอง ไม่จับวัตถุสิ่งของ เหมือนมองไม่เห็น ควรพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ สำหรับวิธีการรักษาโรคต้อหินในเด็กอาจรักษาด้วยยา หรือผ่าตัด โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook