วิธีสังเกต “กระดูกสันหนังคด” หรือเปล่า?

วิธีสังเกต “กระดูกสันหนังคด” หรือเปล่า?

วิธีสังเกต “กระดูกสันหนังคด” หรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระดูกสันหลังคด เป็นภาวะผิดปกติของกระดูกที่พบได้ในคนไทย 2-3% แต่ 80% ของผู้ป่วยไม่พบสาเหตุ มีเพียงส่วนน้อยที่ทราบ เช่น กระดูกสันหลังคดจากขาที่ยาวไม่เท่ากัน กระดูกสันหลังคดจากสมองพิการ หรือเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น

กระดูกสันหลังคด เป็นอย่างไร?

กระดูกสันหลังคด เกิดจากภาวะกระดูกสันหลังโค้งงอไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาจนผิดปกติ ทำให้สะโพก เอว และไหล่ของผู้ป่วยไม่เท่ากัน ปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนจะโค้งงอไปด้านหน้าและหลังในระดับที่สมดุลกับร่างกาย เมื่อมองจากด้านข้างจะเป็นรูปตัว S แต่ถ้ามองจากด้านหลังจะเป็นแนวเส้นตรง แต่ผู้ป่วยที่มีอาการกระดูกสันหลังคดนั้น กระดูกสันหลังจะบิดหรือผิดรูปออกทางด้านข้าง


กลุ่มเสี่ยงกระดูกสันหลังคด

ภาวะกระดูกสันหลังคด สามารถพบได้เท่ากันในเพศชาย และเพศหญิง แต่เพศหญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าเพศชาย และพบว่าผู้ป่วยช่วงอายุ 10-15 ปี 10 % ได้รับการถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์


วิธีสังเกตกระดูกสันหลังคด

นอกจากการตรวจกับแพทย์ด้วยวิธีเอกซ์เรย์แล้ว การที่มีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  1. สังเกตความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก และระดับแนวกระดูกสะโพกของร่างกาย ซึ่งมักจะมีระดับสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ทดสอบโดยการยืนให้เท้าชิดกันและให้ก้มไปด้านหน้า ใช้มือทั้ง 2 ข้างแตะให้ถึงพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน

  2. ปวดบริเวณ หลังเอว คอ เรื้อรัง เนื่องจากกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน

  3. มีอาการเหนื่อยง่าย เนื่องจากกระดูกหน้าอกไปกดทับปอดมากกว่าปกติ


การรักษาภาวะกระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคดเล็กน้อย

แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เสื้อเกราะให้รัด กระชับกับหลัง เพื่อดัดกระดูกสันหลังไม่ให้คดมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องใส่เป็นเวลานานกว่า 23 ชั่วโมงต่อวัน แล้วค่อยๆ ลดจำนวนชั่วโมงลงเมื่อแน่ใจว่ากระดูกสันหลังไม่คดมากไปกว่าเดิม

กระดูกสันหลังคดมาก

โดยคดงอมากกว่า 45 องศา แพทย์อาจพิจาจรณาวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเหล็กดามหลังให้ตรง เชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้ติดแข็งในแนวที่จัดไว้ และให้ผู้ป่วยงดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง 6-9 เดือน เช่น ก้มหลัง บิดตัว แต่ยังสามารถออกกำลังกายเบาๆ ที่ไม่เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook