“หูด” โรคผิวหนังที่พบบ่อย มีกี่ชนิด พร้อมสาเหตุ-วิธีรักษา

“หูด” โรคผิวหนังที่พบบ่อย มีกี่ชนิด พร้อมสาเหตุ-วิธีรักษา

“หูด” โรคผิวหนังที่พบบ่อย มีกี่ชนิด พร้อมสาเหตุ-วิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่จำกัดเพศ และอายุ แม้ว่าจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเป็นแผลติดเชื้อที่หนักกว่าเดิม รักษายากกว่าเดิมได้


โรคหูด คืออะไร?

โรคหูด คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ที่ผิวหนัง หรือเยื่อบุแผล หรือรอยถลอก ผิวหนังที่เปื่อยยุ่ย ฉีกขาด ด้วยการสัมผัสโดยตรงจากคนที่เป็นหูด หรือสัมผัสทางอ้อมผ่านสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น สระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกาย ราวจับต่างๆ และอาจติดเชื้อที่ผิวหนังได้เอง


หูดที่ผิวหนัง มี่กี่ชนิด?

หูดที่ผิวหนัง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. หูดบริเวณผิวหนัง

    เช่น หูดที่ผิวหนัง ฝ่ามือ และฝ่าเท้า

  2. หูดบริเวณเยื่อบุผิวหนัง

    โดยเป็นหูดที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือที่เรียกว่า หูดหงอนไก่ มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย

>> หูดหงอนไก่ ไม่ถึงตาย แต่ (อาจ) ทำลายชีวิตคู่

>> "หูดหงอนไก่" โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเพศอื่นๆ


ลักษณะของหูด

แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะตามอาการ ได้แก่

  1. หูดธรรมดา ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด

  2. หูดผิวเรียบ ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง

  3. หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ
  4. หูดที่อวัยวะเพศ ลักษณะเป็นตุ่มนูนสูงคล้ายหงอนไก่ พบบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ

  5. หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

 

วิธีรักษาโรคหูด

  1. ทายาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก หากทายาอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน แต่เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ต้องเจ็บตัว แต่ควรรับยาหลังตรวจจากแพทย์ ให้แพทย์เลือกตัวยา และบอกวิธีใช้อย่างละเอียดให้ ไม่ควรซื้อยามาทาเอง

  2. จี้ด้วยความเย็นจากไนโตรเจนเหลว ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบๆ เจ็บๆ ระหว่างถูกจี้ หลังจี้แผลอาจพองเป็นตุ่มน้ำ แผลจะค่อยๆ ยุบแห้งตะสะเก็ดและหายได้เอง แต่อาจต้องจี้หลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

  3. จี้ไฟฟ้า สามารถทำลายหูดได้เด็ดขาดในครั้งเดียว หรือไม่กี่ครั้ง แต่อาจมีแผลเป็นได้

  4. ผ่าตัดเอาก้อนหูดออก หากวิธีอื่นๆ ที่ทำมาข้างต้นไม่ได้ผล

  5. ทายากระตุ้นภูมิ (DCP) หากใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล หรือมีก้อนหูดจำนวนมาก แต่อาจใช้เวลารักษาหลายเดือน และต้องเดินทางไปทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

 

วิธีป้องกันโรคหูด

  1. หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรีบทำการรักษา และเพื่อป้องกันการกระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่น

  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ให้ภูมิต้านทานแข็งแรง ต่อต้านเชื้อโรคได้อยู่เสมอ

  3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นโรคหูดหงอนไก่

  4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV สามารถฉีดได้ทั้งชาย และหญิง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook