“ครีมกันแดด” ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ป้องกันผิวคล้ำ-มะเร็งผิวหนังได้จริง

“ครีมกันแดด” ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ป้องกันผิวคล้ำ-มะเร็งผิวหนังได้จริง

“ครีมกันแดด” ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ป้องกันผิวคล้ำ-มะเร็งผิวหนังได้จริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แดดร้อนๆ ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเข้าฤดูร้อนอย่างเต็มที่ในช่วงเดือนเมษายน ทำให้คนไทยทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ “ครีมกันแดด” ได้ เพราะนอกจากแดดแรงๆ เหล่านี้จะทำให้ผิวคล้ำเสีย และเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัยแล้ว แสงยูวีเข้มข้นที่มาพร้อมแดดยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครก็ตามที่ชอบหนีร้อนไปเพิ่งเย็นที่ต่างประเทศ อยากจะบอกว่าแสงยูวีจากดวงอาทิตย์ใสนต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบยุโรป มีรังสียูวีที่เข้มข้นกว่าบ้านเราเสียอีก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะซื้อครีมกันแดดยี่ห้อแพงๆ มา แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี อาจไม่ได้ป้องกันผิวคล้ำ หรือโรคมะเร็งผิวหนังได้อย่างที่คิด เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าเราควรใช้ครีมกันแดดอย่างไร ถึงจะใช้ปกป้องผิวของเราได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ


ครีมกันแดด มีกี่ประเภท?

ครีมกันแดดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ คือ

1. Chemical Sunscreen

 

ครีมกันแดดประเภท Chemical Sunscreen  ใช้คุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี UV เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ก่อนที่สารเคมีจะสลายตัวไปเอง Chemical Sunscreen มีทั้งแบบที่ละลายในน้ำมันและละลายในน้ำ ทำหน้าที่ช่วยให้สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ทั้งในชั้นหนังกำพร้า และในชั้นหนังแท้ โดยครีมกันแดดชนิด Chemical Sunscreen ที่มีค่า SPF สูงๆจะมีสารกันแดดรวมกันหลายๆ ชนิด เพื่อให้การดูดกลืนรังสี UV ที่มีช่วงความถี่ของคลื่นต่างๆ กัน ครอบคลุมได้มากขึ้น และช่วยให้สามารถดูดกลืนรังสี UV ไว้ได้มากขึ้น กระนั้นการใช้ครีมกันแดดชนิดเคมีที่มีค่า  SPF สูง เกินความจำเป็นอาจทำให้มีการสะสมสารกันแดดไว้ในผิวมาก ทำให้ผิวเกิดอนุมูลอิสระ และเกิดความร้อนภายในผิวชั้นใน อาจทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วโดยไม่จำเป็นได้

วิธีใช้ครีมกันแดดชนิด Chemical Sunscreen

  1. ทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที

  2. ควรทาครีมกันแดดซ้ำ ทุก 2 ชั่วโมง

  3. ควรระมัดระวังในการใช้ครีมกันแดดชนิดนี้ เนื่องจากอาจมีผลทำให้เกิดปฎิกิริยา Oxidation ที่ผิว ทำให้เกิดความร้อนที่ผิวมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง และเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้น

 

2. Physical Sunscreen

ครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen ทำหน้าที่ปกป้องผิวโดยการสะท้อนรังสี ด้วยสารกันแดดในกลุ่มแร่ธาตุ โดยสารที่นิยมใช้ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์ความแตกต่าง ในคุณสมบัติ ของครีมกันแดดในกลุ่มนี้ อยู่ที่ขนาดของอนุภาค ความละเอียด ชนิดของผลึก ความสามารถในการกระจายตัว ความเสถียร ความสามารถในการเกาะติดผิว โดยขนาดของอนุภาคที่เหมาะสม ควรอยู่ระหว่าง 100-10 นาโนเมตร จึงจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องทั้งยูวีเอ ยูวีบี และกระจายได้ทั่วถึงโดยไม่ทำให้เกิดสีขาววอกเวลาใช้

ข้อดีของครีมกันแดดชนิด Physical Sunscreen

ครีมกันแดดชนิด Physical Sunscreen มีข้อดีคือ ไม่ทำให้ผิวเกิดความร้อน จึงอ่อนโยนและก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าครีมกันแดดชนิด Chemical Sunscreen เพราะแร่ธาตุที่ใช้เป็นของแข็งที่ไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึก ทำหน้าที่เพียงสะท้องแสง UV เท่านั้น และแม้ว่าอนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 40 นาโนเมตร ก็จะสะสมในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ไม่ซึมสู่ผิวชั้นหนังแท้เหมือน กันแดดชนิดเคมี

โดยขนาดอนุภาคของสารกันแดด จะมีผลในการสะท้อนรังสี ที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน คือ

  • ขนาดอนุภาค 40 – 80 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสีทั้ง UVB ,UVA และ V Ray ได้ดี มักใช้ในครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15-30 เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ออกแดดสลับกับอยู่ในร่ม การต้องโดนแสงไฟตลอดเวลา หรือการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากริ้วรอยได้ดีอีกด้วย

  • ขนาดอนุภาค 10-40 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสี UVB ได้ดีกว่า ทำให้ได้ค่า SPF ที่สูงได้ถึง 40 ขึ้นไป แต่ไม่สะท้อนรังสี UVA และ V Ray จึงเหมาะกับการใช้เวลาออกแดดแรง ๆ นานๆ ทว่าจะไม่เหมาะกับการปกป้องผิวจากแสงแดดในที่ร่ม

วิธีใช้ครีมกันแดดชนิด Physical Sunscreen

สามารถทาก่อนออกแดดได้ทันที และไม่จำเป็นต้องทาซ้ำบ่อยๆ ที่สำคัญไม่ซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึก จึงไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ผิว หรืออาการระคายเคืองจากสารเคมีอีกด้วย

นอกจากคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากแสงแดดแล้ว ครีมกันแดดที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด อาจมีส่วนผสมของสารที่ช่วยบำรุงผิว เติมความชุ่มชื้น หรือช่วยลดริ้วรอย เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาเป็นทางเลือก การเลือกซื้อก็ต้องพิจารณาที่คุณภาพ และมาตรฐานของแต่ละยี่ห้อ


วิธีสังเกตข้อแตกต่างระหว่างครีมกันแดดแบบ Chemical หรือ
Physical Sunscreen

ถ้าหากคุณไม่รู้ว่าตัวไหนเป็นครีมกันแดดประเภทไหน ก็ให้หันดูข้างหลังในส่วนของสารประกอบ หากไม่มี Zinc oxide หรือ Titanium dioxide ก็ให้เดาไปก่อนว่าเป็นแบบ Chemical

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook