“โรคซึมเศร้า” กับแบบทดสอบเบื้องต้น คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า?
คำถามยอดฮิตของคนที่กำลังเครียด เศร้า ไม่มีความสุขหลายคนคือ “เรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?” หลายครั้งที่คิดว่าตัวเองน่าจะเป็นแน่ๆ แต่ไปตรวจแล้วไม่ได้เป็น หรือบางคนอาจจะคิดว่าแค่เครียดเฉยๆ แต่จริงๆ แล้วกำลังทรมานกับโรคซึมเศร้าอยู่โดยไม่รู้ตัว หากยังไม่แน่ใจตัวเองอยู่แบบนี้ ลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าง่ายๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยดูก่อนตัดสินใจไปโรงพยาบาลก็ยังได้
>> เช็ก 9 พฤติกรรมสัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า"
ประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จดคำตอบของแต่ละข้อเอาไว้ แล้วมารวมคะแนนทีหลัง
จงเลือกตอบคำถามข้อ 1-9 ด้วยตัวเลือกเหล่านี้
>> ไม่เป็นเลย
>> เป็นบางวัน (1-7 วันต่อสัปดาห์)
>> เป็นบ่อย (มากกว่า 7 วันต่อสัปดาห์)
>> เป็นแทบทุกวัน
- เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไรทั้งนั้น
- ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
- หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
- เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง
- เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
- รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดตลอดเวลาว่าตัวเองไม่ดีพอ เป็นคนล้มเหลวในชีวิต ทำให้ตัวเองและครอบครัวผิดหวัง
- ไม่ค่อยมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นอินเตอร์เน็ต ฟังเพลง หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
- พูด หรือทำอะไรช้าเกินไปจนคนอื่นสังเกตเห็น หรือกระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้เหมือนเคย
- เคยคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่อยู่แล้วคงจะดี
คิดคะแนนโดย
ไม่เป็นเลย = 0 คะแนน
เป็นบางวัน = 1 คะแนน
เป็นบ่อยๆ = 2 คะแนน
เป็นแทบทุกวัน = 3 คะแนน
หากได้คะแนน 0-6 คะแนน
ปกติ
ควรดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้ดีแบบนี้ต่อไป
หากได้คะแนน 7-12 คะแนน
ซึมเศร้าเล็กน้อย
ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์
หากได้คะแนน 13-18 คะแนน
ซึมเศร้าปานกลาง
ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์
หากได้คะแนน 19-27 คะแนน
ซึมเศร้ารุนแรง
ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์อย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม แบบประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินด้วยตนเองในเบื้องต้นเท่านั้น หากได้มากกว่า 7 คะแนน หรือรู้สึกทรมาน ไม่มีความสุข เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปจนคนรอบข้างสังเกตเห็น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยตรงจะดีที่สุด
>> 3 เรื่องเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คนมักเข้าใจผิด