MPS ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ-เยื่อพังผืด อันตรายยิ่งกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"

MPS ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ-เยื่อพังผืด อันตรายยิ่งกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"

MPS ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ-เยื่อพังผืด อันตรายยิ่งกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนทำงานส่วนใหญ่จะรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดเฉพาะจุด เช่น คอ บ่า ไหล่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงกลุ่มย่อยของ MPS (Myofascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด  ลักษณะของอาการจะคล้ายกับออฟฟิศซินโดรม แต่อาการของ MPS จะมีอาการปวดแบบกว้างกว่า และมีความรุนแรงมากกว่า จึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าออฟฟิศซินโดรม


MPS (Myofascial Pain Syndrome) คืออะไร?

คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด จากคลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลว่า MPS (Myofascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่วงการแพทย์ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก MPS นี้เป็นกลุ่มอาการปวดซึ่งจะนำไปสู่อาการและโรคที่ร้ายแรงต่อผู้ที่เป็นได้

ปัจจุบันพบว่ากว่า 20% ของผู้มีอาการ MPS ที่ปล่อยให้เรื้อรัง (มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน) จะส่งผลให้เป็นโรค Fibromyalgia /FMS หรืออาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดกระจายตัวทั้งร่างกายได้ ซึ่งความน่ากลัวของกลุ่มอาการนี้คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของสารเคมีในสมองบางตัว (Brain Chemical Adaptation) ทำให้ผู้มีอาการของ FMS นั้นไวต่อการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด และที่สำคัญพบว่า ผู้เป็นเรื้อรัง มากกว่า 50% มักส่งผลต่อภาวะทางจิตใจ และอาการต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น เช่น  นอนไม่หลับ เพลียไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อยล้า ชาตามร่างกาย วิตกกังวล เครียด และนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าในที่สุด


สาเหตุที่ทำให้เกิด MPS

ปัจจัยที่ทำให้เกิด MPS เพราะมีการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างหนัก คือ

  • ทำต่อเนื่องอยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน ไม่พักหรือเปลี่ยนอิริยาบถ 

  • อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม

  • จัดสภาพแวดล้อมของที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานไม่เหมาะสม  

  • ไม่ทราบวิธีเบื้องต้นในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดที่ต้องทำงานหนัก  

  • ออกกำลังกายเพื่อแก้อาการผิดวิธี ฯลฯ

ส่วนใหญ่ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ MPS  มักไม่ทราบว่าตนเป็นอาการนี้ และถูกวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่คล้ายกัน เช่น ออฟฟิศซินโดรม ไมเกรน ปวดศีรษะจากความตึงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ หรืออักเสบเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวเป็นเพียงส่วนย่อยของ MPS


อาการของ MPS

ลองสังเกตดูว่าคุณมีอาการของ MPS หรือไม่

  • กล้ามเนื้อแข็งเป็นลำ

  • ปวดมากเมื่อต้องอยู่ในท่าเดิมๆ

  • จุดกดเจ็บมักปวดร้าวไปบริเวณอื่นๆ

  • วิงเวียนหนักศีรษะ

  • ชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย

  • ตาพล่า คัดจมูก เหมือนน้ำตาเอ่อ

  • นอนไม่หลับ เครียด

 

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบแก้ไข เพราะในทางกายภาพบำบัดสามารถตรวจวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการปวดต่างๆ ได้  ซึ่งหากเราทราบแน่ชัดว่าอาการที่เป็นนั้นรุนแรง จัดอยู่ในขั้นของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อแบบใด เราก็สามารถทราบวิธีการในการจัดการดูแล ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูอาการนั้นๆ ได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook