3 วิธี ลดเสี่ยง “ตับคั่งไขมัน” โรคร้ายที่อาจกลายเป็น “ตับแข็ง” ได้

3 วิธี ลดเสี่ยง “ตับคั่งไขมัน” โรคร้ายที่อาจกลายเป็น “ตับแข็ง” ได้

3 วิธี ลดเสี่ยง “ตับคั่งไขมัน” โรคร้ายที่อาจกลายเป็น “ตับแข็ง” ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ.นพ.อัครวิทย์ พูลสมบัติ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอารยุศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคตับคั่งไขมัน เป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการ ส่วนมากตรวจพบเมื่อค่าสภาวะตับในเลือดผิดปกติ หรือตับอักเสบ และสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมในการกินอาหาร และการใช้ชีวิตของเรานี่เอง


สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน

  • เป็นโรคอ้วนลงพุง

  • มีไขมันสะสมอยู่ที่ตับ

  • ดื่มสุราอย่างเรื้อรัง

  • รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะฮอร์โมนและสเตรียรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยารักษามะเร็งเต้านม

  • ผลข้างเคียงจากโรค เช่น เบาหวาน มีถุงน้ำในรังไข่ เส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง

>> กินไม่ระวัง เสี่ยงโรคตับคั่งไขมัน


อันตรายของโรคตับคั่งไขมัน

ผู้ป่วยโรคตับชนิดนี้ส่วนใหญ่มักตรวจเลือดไม่พบการอักเสบของตับ และไม่มีอาการแสดงของโรค โรคนี้ถือเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน หากปล่อยไว้ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากมักพบว่าผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง โรคหลอดเลือดแดงและหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่พบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมัน

>> รู้ก่อนเป็น “โรคตับคั่งไขมัน” ต้นตอ “ตับแข็ง”


3 วิธี ลดเสี่ยง “ตับคั่งไขมัน”

  1. ประเมินสุขภาพของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา เช่น รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังอยู่ในภาวะโรคอ้วนหรือไม่ เสี่ยงเบาหวานอยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ ต้องตั้งเป้าควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้ได้ และต้องรักษาน้ำหนักให้คงที่ไปเรื่อยๆ ด้วย จากงานวิจัยพบว่า 80% ของผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักลงได้อย่างน้อย 10% จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาใหม่ได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักให้คงที่จึงสำคัญมาก

  2. ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายเป็นอย่างแรกๆ เพราะสุขภาพจะดีได้ เริ่มจากสองสิ่งนี้ โดยต้องวางแผนการออกกำลังกายให้ดี เช่น เริ่มจากออกกำลังกายประเภทแอโรบิค วิ่ง ปั่นจักรยานวันละ 15 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์ หลังจากทำได้ติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์แล้ว ให้เริ่มออกกำลังกาย 30 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจึงเริ่มเพิ่มการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ระหว่างนี้ลดการรับประทานอาหารพลังงานสูงอย่าง แป้ง และน้ำตาลที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ขนม น้ำหวาน เนื้อสัตว์ติดไขมัน หันมาเน้นผักผลไม้ โปรตีนไขมันน้อย และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น

  3. ให้กำลังใจตัวเอง กระตุ้นให้ตัวเองทำให้สำเร็จ ระหว่างการออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร อาจมีช่วงที่ห้ามใจตัวเองไม่ได้ ขอให้ตั้งสติแล้วดึงตัวเองกลับมาสู้ใหม่ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าน้ำหนักต้องลงเท่าไร รูปร่างต้องกระชับส่วนลงกี่นิ้ว ไม่ว่าจะพลาดกี่ครั้ง ขอให้เรียกสติกลับมาใหม่ให้ได้ทุกครั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook