“เด็กติดเกม” อันตรายถึงขั้นช็อก-ตายคาจอ อันตรายที่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง

“เด็กติดเกม” อันตรายถึงขั้นช็อก-ตายคาจอ อันตรายที่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง

“เด็กติดเกม” อันตรายถึงขั้นช็อก-ตายคาจอ อันตรายที่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จิตแพทย์ เผยเด็กไทยติดเกมอันดับต้นๆ ของโลก เหตุพ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยมือถือ หวังให้อยู่นิ่งๆ สุดท้ายทำเสียสายตา อ้วน มีปัญหาสุขภาพจิต ขาดการสื่อสาร ไม่เข้าสังคม มีปัญหา หากติดเกมหนัก ไม่กินไม่นอน อาจถึงขั้นช็อก ตายคาจอ


ทำไมเด็กไทยถึง “ติดเกม” เป็นอันดับต้นๆ ของโลก?

นพ.ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ อดีตนายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้จัดภาวะติดเกมเป็น 1 โรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษา หรือเรียกว่าภาวะเสพติดพฤติกรรม ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีปัญหาเด็กติดเกมมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะพ่อ แม่ขาดความเข้าใจ เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือ ให้เล่นเกมเพื่อจะได้อยู่นิ่งๆ และอยู่ในสายตา พอมากเกินไปทำให้เด็กมีปัญหาการติดเกม เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเลยโดยเฉพาะวัยรุ่นชาย ทั้งนี้ จากข้อมูลมีเด็กที่เข้ารับการปรึกษาปัญหาติดเกมอายุน้อยสุดอยู่ในวัยอนุบาล


อันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อ “เด็กติดเกม”

  1. เสียสายตา อาจมีปัญหาสายตาสั้น หรือเอียงตั้งแต่อายุยังน้อย

  2. อ้วนมาก เป็นโรคอ้วน เพราะขาดการเคลื่อนไหว

  3. มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่สื่อสาร ไม่เข้าสังคม หนีปัญหา พอเกิดปัญหาก็หนีไปหาเกม

  4. ติดเกมหนักไม่ยอมกินยอมนอน ทำให้ร่างกายอ่อนแอ สูญเสียเกลือแร่ และความสมดุลของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะช็อก เสียชีวิตคาจอ ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจถือว่าอันตรายเพิ่มขึ้น


วิธีป้องกันไม่ให้เด็กติดเกม

ขอให้ผู้ปกครองเอาใจใส่บุตรหลาน ยึดหลัก 3 ต้อง 3 ไม่ คือ

  1. ต้องกำหนดเวลาเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

  2. ต้องตกลงโปรแกรมและเลือกประเภทเกมให้ลูก เช่น เกมบริหารสมอง ลดเกมที่เสี่ยงความก้าวร้าวอย่างการฆ่ากันยิงกัน พ่อแม่ต้องอยู่ด้วย

  3. ต้องเล่นกับลูก เพื่อสอนให้คำแนะนำกันได้


ส่วน “3 ไม่” ได้แก่

  1. พ่อแม่ไม่เล่นเป็นตัวอย่าง

  2. ไม่เล่นในเวลาครอบครัว

  3. ไม่เล่นในห้องนอน


หากมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูบุตรหลาน ปรึกษาได้ที่ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เว็บไซต์ http://www.psychiatry.or.th/ หรืออีเมลล์ secretary@psychiatry.or.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook