อ้าปากแล้วปวดกราม เสี่ยง "โรคข้อต่อขากรรไกร"

อ้าปากแล้วปวดกราม เสี่ยง "โรคข้อต่อขากรรไกร"

อ้าปากแล้วปวดกราม เสี่ยง "โรคข้อต่อขากรรไกร"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้ามีอาการปวด และเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกร อ้าหรือขยับปากลำบาก ขากรรไกรค้าง ร่วมกับปวดศีรษะบ่อยๆ อาจเสี่ยงโรคข้อต่อขากรรไกร 


โรคข้อต่อขากรรไกร คืออะไร?

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคข้อต่อขากรรไกร เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อและกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆข้อต่อขากรรไกร สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ปัญหาในช่องปาก หู โพรงจมูก

  • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร 

  • การติดเชื้อ

  • การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปหรือใช้ผิดประเภท เช่น เคี้ยวข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง เคี้ยวของแข็ง

  • การสบฟันที่ผิดปกติ

  • เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกรมาก่อน หรืออาจเกิดจากโรคต่างๆ อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด ไซนัสอักเสบ ปวดหัวข้างเดียวและปวดบริเวณรอบๆดวงตา โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า 


วิธีรักษาโรคข้อต่อขากรรไกร

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาของแพทย์จะเริ่มจาก

  1. สอบถามอาการ และตรวจเช็คข้อต่อขากรรไกร โดยกดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกรข้างที่เจ็บ

  2. ตรวจการเคลื่อนไหวของขากรรไกร

  3. ให้รับประทานยา และแนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบการสบฟัน

  4. หากมีอาการสบฟันผิดปกติ และมีอาการปวดร่วมด้วย แพทย์อาจให้ใส่ที่ครอบฟัน เพื่อให้การสบฟันคงที่ ลดการกระแทกของข้อต่อขากรรไกร

  5. ทำกายภาพบำบัด

  6. ถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องผ่าตัด


วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อต่อขากรรไกร หรือปวดฟันกราม

  1. รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม

  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็งหรือที่ต้องใช้แรงเคี้ยวมาก เช่น น้ำแข็ง อ้อย

  3. อาจใช้น้ำอุ่นประคบกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ขากรรไกร

  4. ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป   

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook