“ฮีโมฟีเลีย” โรคเลือดออกง่าย ภัยเงียบจากพันธุกรรมที่ควบคุมได้
โรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่าย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้เด็กหลายคนเป็นตั้งแต่กำเนิด หากมีอาการเลือดออกมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ จึงควรเรียนรู้วิธีควบคุมโรคให้ดีก่อนสายเกินไป
โรคฮีโมฟีเลีย คืออะไร?
รศ.พญ. ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าสาชาวิชาโลหิตวิทยา และมะเร็งเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
อาการที่สังเกตได้ของโรคฮีโมฟีเลีย
อาการของโรคฮีโมฟีเลีย คือ เลือดออกง่าย แต่หยุดยาก โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- ในเด็กเล็ก หรือเด็กแรกเกิด มีอาการเลือดออกในสมองหลังคลอด
- ในเด็กเล็ก ฉีดวัคซีนแล้วพบรอยฟกช้ำง่ายกว่าเด็กอื่น และใช้เวลานานกว่าจะหาย
- อุ้มเด็กแล้วเห็นรอยช้ำตามที่มือที่อุ้มเด็ก
- มีรอยฟกช้ำดำเขียวง่าย เกิดจาดการกระทบกระแทกที่ไม่รุนแรง และอาจเกิดขึ้นเอง
- เลือดออกมาข้อ หรือในกล้ามเนื้อลึกๆ เมื่อหกล้ม
- หากรุนแรงอาจมีเลือดออกในสมอง
- หากเกิดอุบัติเหตุ อาจเสี่ยงเสียชีวิตได้
ประเภทของโรคฮีโมฟีเลีย
โรคฮีโมฟีเลีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ฮีโมฟีเลีย เอ
- ฮีโมฟีเลีย บี
โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว ที่เรียกว่า แฟคเตอร์ 8 และ แฟคเตอร์ 9 ตามลำดับ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพศชาย จึงพบได้บ่อยได้เพศชาย หากสงสัยว่าลูกหลานป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือไม่ สามารถพามาตรวจกับแพทย์ โดยเจาะเลือดหาแฟคเตอร์ 8 และแฟคเตอร์ 9 หากมีปริมาณแฟคเตอร์ 8 และ 9 น้อยกว่าปกติ ทีมแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ต่อว่าเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือไม่ ชนิดใด และรุนแรงระดับใด
วิธีรักษาโรคฮีโมฟีเลีย
- รักษาแบบป้องกัน : เติมแฟคเตอร์ 8 และ 9 ที่ผู้ป่วยขาดทุกสัปดาห์ ทำให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนเด็กทั่วไปได้
- รักษาเมื่อมีอาการ : เมื่อไรก็ตามที่มีเลือดออกในข้อ หรือในกล้ามเนื้อลึกๆ แพทย์จะเติมแฟคเตอร์ 8 และ 9 เพื่อให้เลือเหยุดไหล
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ของมีคม
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ลึกการออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บได้น้อย เช่น ว่ายน้ำ เดินเล่น เป็นต้น
- ดูแลสุขภาพกาย และใจให้แข็งแรง
หากสงสัยว่าบุตรหลานเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือไม่ สามารถพาบุตรหลานมาตรวจร่างกายได้ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกเด็ก ตึก ภปร. ชั้น 9 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย