5 กลุ่มโรคควรระวังช่วง “หน้าฝน”

5 กลุ่มโรคควรระวังช่วง “หน้าฝน”

5 กลุ่มโรคควรระวังช่วง “หน้าฝน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หน้าฝน เป็นอีกฤดูหนึ่งที่มีโรคอันตรายชุกชุม เพราะด้วยความชื้น และอากาศที่ร้อนอบอ้าว จึงเป็นช่วงที่เชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรียต่างๆ เจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งโรคติดต่อที่มากับฝนก็มีมากมายเช่นกัน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค จึงออกเตือนประชาชนชาวไทยให้ระมัดระวังกลุ่มโรคที่อาจพบได้ในช่วงฤดูฝน ดังนี้


5 กลุ่มโรคควรระวังช่วง “หน้าฝน”

กลุ่มโรคที่ 1 เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ

โรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่โรคไข้หวัดใหญ่ พบได้ในทุกอายุ พบป่วยมากในเด็กเล็ก ส่วนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  

ส่วนโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือไอจามรดกัน ป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น หมั่นล้างมือ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น


กลุ่มที่ 2 มี 5 โรคที่มียุงเป็นพาหะ

โรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย ไข้ปวดข้อยุงลาย โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ทั้งหมดป้องกันได้ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด  


กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม หรือจากแมลงวันที่เป็นพาหะนำโรค

ส่วนโรคไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง น้ำลาย เลือดจากผู้ป่วย

ทั้ง 2 โรคป้องกันด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม อาหารค้างมื้อควรอุ่นให้ร้อนจัดก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำสะอาด และฉีดวัคซีนป้องกันโรค


กลุ่มที่ 4 โรคติดต่ออื่นๆ

โรคติดต่ออื่นๆ ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็ก ระบาดทุกปีช่วงฤดูฝนหรือเปิดเทอม ติดต่อจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย ส่วนโรคเลปโตสไปโรซิส เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำนานจนอ่อนนุ่ม


กลุ่มที่ 5 ภัยสุขภาพในฤดูฝน

  • อันตรายจากการรับประทานเห็ดพิษ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก

  • อันตรายจากสัตว์มีพิษ ควรจัดบ้านให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์มีพิษ ระวังเมื่อต้องเข้าไปในที่รก กอหญ้า หรือกองไม้  

  • ส่วนภัยจากฟ้าผ่า เมื่อมีฝนตกฟ้าคะนอง ให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้งในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้

  • ขับรถด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากฝนตกถนนจะลื่นทำให้ระยะการหยุดรถยาวกว่าปกติ และยังลดทัศนวิสัยการมองเห็นในการขับขี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook