เช็กระดับ “ความดันโลหิต” ตามข้อมูลใหม่จากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐฯ
ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นสามารถเช็กได้จากระดับความโลหิต โดยนอกจากเราจะทราบระดับความดันโลหิตจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลแล้ว เรายังสามารถหซื้อเครื่องตรวจความดันโลหิจมาใช้เองที่บ้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงานไปจนถึงวัยสูงอายุ หากวัดความดันโลหิตเพื่อเช็กร่างกายของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ก็จะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตในทุกๆ วันได้ง่ายขึ้น
ที่เราเคยจำกันได้คร่าวๆ คือ ความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท (120 คือตัวเลขด้านบน 80 คือ) คือความดันในระดับปกติ
หากค่าความดันโลหิตของคุณนั้นมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท คุณอาจจะยังไม่โดนพยาบาลเตือนหนักมาก เพราะปกติแล้วความดันโลหิตในระดับนี้หมายความว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงเบื้องต้น (pre-hypertension) แต่หากได้มาดูข้อมูลอัปเดตจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) วิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสถาบันทางการแพทย์เพื่อสุขภาพอีกกว่า 9 แห่งในสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นตัวเลขระดับความดันโลหิตใหม่ที่เราควรระมัดระวัง และให้ความสนใจกับความดันโลหิตของเราให้มากขึ้น
ระดับความดันโลหิตสูง-ต่ำ จากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association)
- ความดันโลหิต ต่ำกว่า หรือเท่ากับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท = ปกติ
- ความดันโลหิต 120-129/ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย
- ความดันโลหิต 130-139/80-89 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงระดับ 1
- ความดันโลหิต มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงระดับ 2
- ความดันโลหิต มากกว่า 180/120 มิลลิเมตรปรอท = ความดันลหิตในระดับอันตราย ควรพบแพทย์ทันที
จากข้อมูลตัวเลขตามด้านบนจะเห็นว่า มีการขยับระดับความดันโลหิตสูงระยะ 1 จาก 140/90 เป็น 130/80 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นใครก็ตามที่เคยวัดความดันโลหิตอยู่ที่ 130/80 หรือมากกว่านี้เล็กน้อยเป็นประจำ จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง ระดับ 1” ทันที และและนี่จะทำให้ผู้สูงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปกว่า 70-79% ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงทันที
ทำไมถึงเปลี่ยนระดับอันตรายของโรคความดันโลหิตสูง?
ความดันโลหิตเป็นภัยเงียบที่หลายคนละเลย และอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร หลังจากนักวิจัยและทีมแพทย์ทำการศึกษามาเป็นเวลาหลายปีก็พบว่า การระมัดระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตั้งแต่ยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก จะช่วยป้องกันโรคอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความดันโลหิตได้มากกว่า รวดเร็วกว่า
หากเป็นความดันโลหิตสูง ควรทำอย่างไร?
คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังควรพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด ของหมักของดอง ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน และลดความเครียดลง
เกร็ดความรู้ : เราไม่มีโรค “ความดันโลหิตต่ำ” เพราะอันที่จริงแล้วถึงแม้ว่าคุณจะมีความดัน 90/60 มิลลิเมตรปรอท แต่หากคุณไม่ได้มีอาการผิดปกติ ไม่ได้หน้ามืดเวียนศีรษะ ท้องเสียอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระหว่างอาการขาดน้ำ ขาดเลือด สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณมีความดันต่ำ อาการหน้ามือ เวียนศีรษะบ่อยๆ อาจเกิดมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือขาดการออกกำลังกายมากกว่า