ทำความรู้จัก REM Sleep สาเหตุของการนอนหลับไม่สนิท

ทำความรู้จัก REM Sleep สาเหตุของการนอนหลับไม่สนิท

ทำความรู้จัก REM Sleep สาเหตุของการนอนหลับไม่สนิท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ คือช่วงนอนหลับ เพราะเป็นช่วงที่อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายส่วนใหญ่พักการทำงานอย่างเต็มที่ แต่การนอนหลับไม่ได้ง่ายๆ แค่ล้มตัวลงบนเตียงแล้วเอาหัวหนุนหมอนเท่านั้น เพราะหากอยากนอนหลับอย่างทีคุณภาพ ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่จริงๆ ต้องทำความรู้จักกับ REM Sleep กันก่อน


REM Sleep คืออะไร?

การนอนในแต่ละคืนของเรา จะมีอยู่ 2 ช่วงใหญ่ๆ ได้แก่

  1. Non-REM Sleep เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เพิ่งหลับไปจนถึงก่อนช่วงหลับลึก โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 5-15 นาที
  • 5-15 นาทีแรก ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวจากโหมดตื่นเป็นนอนหลับ จะยังหลับไม่ลึกมาก ค่อนข้างตื่นง่ายหากมีการรบกวนด้วยแสง หรือเสียง
  • 15-30 นาที ร่างกายเข้าสู่โหมดหลับตื้น ชีพจรเต้นช้าลง อวัยวะในร่างกายบางส่วนหยุดการทำงาน
  • 30 นาที-1 ชั่วโมง ร่างกายเข้าสู่โหมดหลับลึก จะเริ่มไม่รับเหตุการณ์รอบตัวว่าเกิดอะไรขึ้น และจะตื่นค่อนข้างลำบาก
  1. REM Sleep เป็นช่วงวงจรที่กล้ามเนื้อต่างๆ หยุดทำงานหมดยกเว้น หัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อเรียบ แต่สมองยังคงทำงานอยู่ราวกับตื่น จึงเป็นช่วงที่ฝันเป็นเรื่องเป็นราว หรืออาจเรียกได้ว่านอนหลับไม่สนิท มีการกลอกตาไปมา ดิ้นไปดิ้นมา หัวใจเต้นเร็วขึ้น บางรายอาจฝันจนบ่นพึมพำ โดยการนอนแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงหลังของการนอนตั้งแต่ 1.30 ชั่วโมงเป็นต้นไป เป็นเหตุให้ฝันบ่อยๆ ในช่วงเช้ามืด


การนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ เป็นอย่างไร?

จริงๆ แล้วหลายคนอาจคิดว่า การล้มตัวหัวถึงหมอนปุ๊บ หลับเป็นตายปั๊บ เป็นการพักผ่อนที่ดี แต่อันที่จริงแล้วคนที่มีการนอนหลับที่ปกติ ต้องมีช่วงเวลาทั้งสองอย่าง ตั้งแต่เพิ่งหลับ หลับตื้น ไปจนถึงหลับลึก

เวลาที่ใช้ในการนอนแล้วรู้สึกตื่นมาแล้วสดชื่น รู้สึกเหมือนร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ของร่างกายแต่ละคนไม่เท่ากัน แม้ว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง แต่พบว่าในบางคนอาจจะต้องใช้เวลานอนมากถึง 10 ชั่วโมง ในขณะที่บางคนนอน 5 ชั่วโมงก็รู้สึกสดชื่นแล้ว ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนใช้เวลาในการนอนหลับแล้วรู้สึกสดชื่นเต็มที่ไม่เท่ากัน ทั้งอายุ โรคประจำตัว พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ นอนไม่เป็นเวลา การใช้ยาเสพติดบางชนิด และสุขภาพโดยรวมทั่วไป

>> “ยีนนอนน้อย” คำอธิบายของคนที่นอนไม่กี่ชั่วโมง แต่สดใสเหมือนนอนเต็มที่


ทำอย่างไรถึงจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกได้?

หลายคนอยากนอนหลับนิ่งๆ ลึกๆ แบบไม่ตื่น ไม่ดิ้น ไม่ฝันจนถึงเช้า เป็นการนอนหลับที่ได้พักอย่างเต็มที่ชีวิต มีคุณภาพมากที่สุด เรามีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณนอนหลับลึก นอนหลับสนิทได้ทั้งคืนมาฝาก

  1. ตื่นให้เช้า เข้านอนให้เร็ว

  2. ตื่นนอน และเข้านอนเป็นเวลาเดิมทุกวัน
  3. งดการนอนงีบในตอนกลางวัน

  4. ออกกำลังกายทุกวัน ตอนเย็น หรือตอนเช้าก็ได้ ถ้าเป็นตอนเย็นไม่ควรออกกำลังกายหลัง 19.00 น.

  5. อาบน้ำอุ่นก่อนนอน เพื่อความผ่อนคลาย

  6. จุดเทียน หรือใช้เครื่องหอมที่มีกลิ่นผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น เช่น ลาเวนเดอร์

  7. เตรียมห้องนอนให้อยู่ในสภาพพร้อมนอน เช่น ห้องต้องเงียบ แสงสลัว หรือปิดไฟสนิท

  8. ไม่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะทำให้เราตื่นตัว นอนไม่หลับ

  9. นอนหงาย จะช่วยให้หลับง่ายที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook