“เบิร์นเอาท์” หมดไฟในการทำงาน กับ 5 สิ่งที่ควรทำเพื่อกลับมามีพลังอีกครั้ง
- ไม่อยากตื่นนอนไปทำงานตอนเช้า
- มีงานที่ต้องทำ แต่ไม่อยากหยิบมาทำ
- ตอนกลางคืนไม่หลับไม่นอน
- ไปทำงานสาย / ลางานบ่อยๆ
- ไม่พูดคุยกับเพื่อนที่ทำงาน
- ทำงานพลาดบ่อย / ทำงานช้าลง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ซึมเศร้า ไม่อยากคุยอยากข้องแวะกับใคร
อาการเหล่านี้ เป็นอาการเริ่มต้นของคนที่อยู่ในภาวะเบิร์นเอาท์ (Burn Out) หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่วัยทำงาน โดยเฉพาะช่วงที่ทำงานผ่านไประยะหนึ่ง 3-5 ปีขึ้นไปอาจประสบพบเจอได้
ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นอย่างไร?
ภาวะหมดไฟในการทำงาน เกิดขึ้นจากความเหนื่อยล้าทางอารมณ์หลังทำงานหนักอย่างเหน็ดเหนื่อย ระหว่างที่ทำงานอาจก่อให้เกิดความรู้สึกลดคุณค่าความเป็นคน และความรู้สึกด้อยความสามารถ ไม่ประสบความสำเร็จ หรือแม้กระทั่งการเข้าไม่ได้กับสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน การทำงานที่ไม่อยากทำ ทนฟังคำตำหนิบ่อยๆ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจบั่นทอนจิตใจ ทำให้ไม่อยากทำงานได้
5 วิธีแก้ไขภาวะหมดไฟในการทำงาน
- ปรับความคิด และความคาดหวังให้ตรงกับความเป็นจริง หมายถึง การพยายามไม่คาดหวังกับอะไรที่เป็นไม่ได้มากเกินไปจนเป็นการกดดันตัวเอง คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
- ปรึกษาพูดคุยกับคนรอบข้าง หากส่งผลต่องาน และจิตใจมาก ควรปรึกษาจิตแพทย์
- ใช้เวลาให้สมดุลระหว่างหน้าที่การงาน กับเวลาชีวิตส่วนตัว
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ทุกมื้อ
- หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้อย่างแน่นอน