5 วิธีป้องกัน "ไข้หวัดใหญ่" โรคติดต่อที่อันตรายกว่าที่คิด

5 วิธีป้องกัน "ไข้หวัดใหญ่" โรคติดต่อที่อันตรายกว่าที่คิด

5 วิธีป้องกัน "ไข้หวัดใหญ่" โรคติดต่อที่อันตรายกว่าที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ทำเอาหลายคนปวดศีรษะ เป็นไข้ ไอ จามกันจนเกรงว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งถือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่พบว่ามีการระบาดมากในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจทั้งจมูก ลำคอ และปอด ซึ่งอาการเบื้องต้นอาจจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงกว่า และมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนจนอาจจะส่งผลถึงชีวิตได้

ไข้หวัดใหญ่กำลังระบาดอีกครั้ง

รศ.พญ.สิริอร วัชรานานันท์ แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในปี 2562 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค สำนักโรคติดเชื้อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 มิถุนายน 2562 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 167,377 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 252.45 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.01 จํานวนผู้ป่วยสะสมในภาพรวม พบว่าสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และสูงกว่าปีที่ผ่านมา       


ไข้หวัดใหญ่ เป็นกันง่าย เพราะติดต่อกันได้ง่าย

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจาม หากอยู่ใกล้ผู้ป่วย บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก  ในผู้ใหญ่อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย ในเด็กเล็กสามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน และอาจนานขึ้นไปอีก


ไข้หวัดใหญ่ กับอันตรายที่น่ากลัว

ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่อย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ


วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

วิธีการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่  สามารถทำได้เพียงดูแลตัวเองด้วย

  1. การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง

  2. ล้างมือบ่อยๆก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส

  3. เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ๆคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด)

  4. หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น

  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อสร้างภูมิต้านทานและลดโอกาสเสี่ยง ซึ่งการได้รับวัคซีนเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี


กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนมี 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  1. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน

  2. เด็ก อายุ 6 เดือน - 2 ปี     

  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

  4. ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี

  5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

  6. โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)

  7. โรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก./ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตรม.

หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง สามารถติดต่อสอบถามเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ้ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และแม้ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรดูแลร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ล้างมือทุกครั้งหลังจากกลับมาจากการไปในพื้นที่สาธารณะ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เป็นไข้หวัด และสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้แม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อปกป้องร่างกายให้ดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook