"ผ่าตัดไร้แผล" ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย "มะเร็งปากมดลูก"

"ผ่าตัดไร้แผล" ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย "มะเร็งปากมดลูก"

"ผ่าตัดไร้แผล" ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย "มะเร็งปากมดลูก"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ โรงพยาบาลราชวิถีผ่ามะเร็งปากมดลูกไร้แผล สอดกล้องตัดแค่ชิ้นเนื้อ-รักษาโอกาสตั้งครรภ์


มะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของหญิงไทย

ผศ.พิเศษ พญ.อรัญญา ยันตพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมะเร็งนรีเวช ร.พ.ราชวิถี กล่าวว่า มะเร็งของสตรีไทย ที่พบอัตราป่วยมากที่สุดคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก และมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตาม จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกพบอัตราการเกิดอยู่ที่ 1.8 พันรายต่อปี และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2560 อยู่ที่ 2,200 รายต่อปี ขยับเพิ่มประมาณ ปีละ 500-700 ราย เฉพาะที่ ร.พ.ราชวิถีพบผู้ป่วยเมื่อปี 2561 อยู่ที่ 639 ราย และพบในหญิงอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากเดิมอายุ 30-35 ปี ก็ลงมาประมาณ 20 กว่าปี อย่างไรก็ตาม สถิติไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่ที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นอาจมาจากการตรวจคัดกรองที่ดี มีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และคนใส่ใจตรวจสุขภาพมากขึ้น


สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ ระยะฟักตัว 5-10 ปี ดังนั้น ตอนนี้หญิงไทย มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นทำให้พบป่วยมะเร็งปากมดลูกเร็วขึ้น เช่นกัน ซึ่งอาจติดได้ตั้งแต่มีครั้งแรก การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็กหญิงอายุ 9 ขวบขึ้นไปสามารถช่วยป้องกันได้ สำหรับการรักษามีทั้งการผ่าตัด ฉายแสง และเคมีบำบัด แล้วแต่ระยะของโรคและลักษณะของผู้ป่วย


ผ่าตัดแบบไร้แผล ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทาง ร.พ.ราชวิถีได้ประยุกต์เทคนิคการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มานานแล้วทั่วโลก แต่ ร.พ.ราชวิถีจะซับซ้อนกว่านั้น เพราะผ่าตัดแบบไร้แผล โดยสอดกล้องไปทางช่องคลอด แล้วตัดเฉพาะที่เป็นมะเร็งออกมาเท่านั้น ซึ่งช่วยคงมดลูก เอาไว้ ทำให้ผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์มีลูกได้ในอนาคต ซึ่งทำวิธีนี้มาแล้ว 1 ราย เมื่อต.ค.2561 ผู้ป่วยอายุ 29 ปี เพิ่งแต่งงาน เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรกขนาด 2 เซนติเมตร จึงเลือกทำเทคนิคดังกล่าว

วิธีนี้จะทำในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1 ที่มีขนาดมะเร็งไม่เกิน 4 เซนติเมตร ตอนนี้ยังไม่อยากบอกว่าเป็นรายแรกของโลกหรือไม่ แต่เท่าที่สืบค้นมายังไม่พบว่ามีรายงานตีพิมพ์การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ของที่ไหน และขณะนี้กำลังจะตีพิมพ์ การผ่าตัดของ ร.พ.ราชวิถีในวารสารทางการแพทย์ของไต้หวันด้วย

>> อาการ "มะเร็งปากมดลูก" กับ 10 สัญญาณเตือนภัย

>> ดูแลตัวเองให้ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook