ไอเรื้อรัง-เสียงแหบนาน สัญญาณอันตราย “มะเร็งกล่องเสียง”

ไอเรื้อรัง-เสียงแหบนาน สัญญาณอันตราย “มะเร็งกล่องเสียง”

ไอเรื้อรัง-เสียงแหบนาน สัญญาณอันตราย “มะเร็งกล่องเสียง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มาทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งกล่องเสียงกันให้ดีกว่านี้อีกสักนิด เพื่อที่จะได้สังเกตว่า คุณมีอาการบ่งชี้เบื้องต้นของ มะเร็งกล่องเสียง อย่าง ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบนานๆ อยู่หรือไม่


มะเร็งกล่องเสียง คืออะไร?

กล่องเสียง เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการออกเสียง ช่วยในการหายใจ และกลืนอาหาร เมื่อมี เนื้อร้ายอย่าง มะเร็งกล่องเสียง เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของกล่องเสียง จึงทำให้กล่องเสียงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และทำให้ผู้ที่ป่วยเป็น มะเร็งกล่องเสียง ออกเสียง หายใจ และกลืนอาหารได้ยากลำบากยิ่งขึ้น 


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง

  • สูบบุหรี่ - การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดสำหรับ มะเร็งกล่องเสียง โดยผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 20 เท่า

  • ดื่มแอลกอฮอล์ – แอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียงให้เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้

  • การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกล่องเสียง - เช่น คอ หรือหลอดลมที่เกิดการอักเสบเรื้อรัง

  • มลพิษทางอากาศ - การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่น ควัน และสารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม

  • ติดเชื้อไวรัส - ติดเชื้อไวรัส จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีการแบ่งเซลล์ผิดปกติ
  • การฉายรังสี – การฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณคอสามารถก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งได้

  • พันธุกรรม - เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้


การตรวจหาโรคมะเร็งกล่องเสียง

วิธีการตรวจว่า คุณเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงหรือไม่ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • โดยเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มจากการตรวจประวัติคนไข้ และตรวจดูสภาพร่างกายภายนอกก่อน โดยจะคลำดูช่วงคอเหนือกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจโรคต่อม และก้อนอื่น ๆ รวมถึงเสียงกรอบแกรบที่กล่องเสียง ส่องดูช่องปาก และคอหอยที่สามารถมองเห็นได้ และใช้กระจกส่องลงไปที่กล่องเสียงเพื่อตรวจดูเนื้องอก

  • ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีก้อนมะเร็ง จะต้องทำการตัดเนื้อต้องสงสัยเพื่อส่งไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง

  • ก่อนการส่องกล้องตรวจกล่องเสียง และการตัดชิ้นเนื้อ จะมีการตรวจเลือด ปัสสาวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบ

  • อาจมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น เอ็กซเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร หรือมีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง


แม้ว่ามะเร็งกล่องเสียง จะเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง และสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเท่านั้น เราจึงควรสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ และรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่เหมาะสม ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook